อาจารย์เล่านิทาน

รู้แจ้งกับอวิชชา
นิทาน 2 พี่น้อง

 

ปราศรัยธรรมโดยอนุตราจารย์ชิงไห่ ไทเป ฟอร์โมซา
1 ธันวาคม 2529(ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)

แต่ก่อนมีนิทานเรื่องหนึ่ง มีเศรษฐีคนหนึ่งมีลูกชาย 2 คน ทั้งสองต่างก็ร่ำรวย ฉลาดเหมือนกัน และต่างเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย แลเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ร่ำรวยด้วยกัน วันหนึ่ง น้องชายคิดจะไปหาประสบการภายนอก จึงบอกกับคุณพ่อว่า เขาจะไปศึกษาหาประสบการณ์ชีวิตข้างนอก

เมื่อเขาออกไปข้างนอกแล้ว ได้พบกับอุปสรรคมากมาย ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่เขาก็ได้เรียนรู้เหตุผลหลายอย่าง ดังนั้น เขาจึงฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ มีปัญญามากขึ้น มีความสามารถมากขึ้น ทราบเรื่องราวต่าง ๆมากขึ้น และทราบความสามารถของตัวเองด้วย แต่ก่อนเขาไม่ทราบว่าตัวเองมีความสามารถเหล่านี้ เพราะเขาอยู่ในครอบครัวที่ร่ำรวย ทุกอย่างจะมีผู้รับใช้ คนใช้ คนปรนนิบัติ โดยที่ตนเองไม่ต้องทำอะไรเลย เขาต้องการอะไรก็ได้หมด ดังนั้น เขาจึงไม่ทราบว่าตัวเองมีความสามารถอะไร หลังจากไปหาประสบการณ์ชีวิตภายนอกแล้ว เขาจึงพบว่า ที่แท้ตัวเองมีความสามารถมากมายที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย มีปัญญาที่คิดไม่ถึง เขาดีใจมากขึ้น เขาเข้าใจมากขึ้น เขามีความสามารถมากมายเช่นนี้

แต่ก่อนที่เขาจะเข้าใจเหตุนี้ เขาได้พบกับอุปสรรคมากมาย สุดท้ายได้พบกับอุปสรรคที่ยากลำบากที่สุด เขาป่วยหนัก ไม่มีเงิน ไม่มีคนดูแล ไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีอะไรเลย คนอื่นก็ไม่ดีกับเขา ขณะนั้น เขาคิดถึงบ้านมาก ไม่สามารถอยู่อย่างนี้ต่อไปได้ ข้าพเจ้าต้องกลับบ้าน อยู่ที่บ้าน ข้าพเจ้ามีชีวิตที่ดี แล้วทำไมข้าพเจ้าต้องมาอยู่ข้างนอก กลายเป็นขอทาน เช่นนี้ ? ขณะนั้น เขาคิดถึงบ้านมาก อยากจะกลับบ้าน อยากจะติดต่อกับครอบครัว หลังจากกลับไปแล้ว คุณพ่อดีใจมาก ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี นำเสื้อผ้าที่ดีที่สุดมาให้เขาใส่ อาหารที่ดีที่สุดมาให้เขาทาน ให้ของขวัญที่ดีที่สุดกับเขา จัดงานใหญ่ต้อนรับการกลับมาของเขา

ขณะนั้น ลูกชายคนโตถามคุณพ่อว่า "แล้วข้าพเจ้าล่ะ คุณพ่อทำไมไม่จัดงานใหญ่ให้ข้าพเจ้า? ทำไมพ่อจึงไม่ให้ของที่ดีกับข้าพเจ้า? ข้าพเจ้ายังคงซื่อสัตย์กับพ่อ ข้าพเจ้าไม่เคยจากพ่อไปไหน! ข้าพเจ้าปรนนิบัติท่านทุกวัน อยู่ใกล้ชิดพ่อทุกวัน พ่อไม่เคยให้อะไรข้าพเจ้าเลย" พ่อบอกกับเขาว่า สิ่งของต่าง ๆ ของพ่อก็เป็นของเจ้าทั้งสองทั้งหมด

ปัจจุบันสภาพชีวิตพี่น้องทั้งสองเหมือนกับในอดีต น้องชายก็ไม่ได้สูญเสียอะไรไป ยังคงร่ำรวยเหมือนเดิม แต่มีส่วนอะไรบ้างที่ดีกว่าพี่ชาย? พวกเจ้าทราบไหม? มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า มีปัญญาและความฉลาดมากกว่า มีความสามารถมากกว่า มีความรู้แจ้งตัวเองมากกว่า เขาเข้าใจตัวเองมากขึ้นกว่าในอดีต ใช่หรือไม่?

แต่ผู้เป็นพี่ เหมือนกับลูกที่ถูกเอาใจจนเสียคน แม้จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่มีเพียงชีวิตที่มีความสุข แต่ไม่มีประโยชน์ เขาร่ำรวยเหมือนน้องชาย แต่ขาดปัญญาที่น้องชายมี ปัจจุบันน้องชายเข้าใจเรื่องต่าง ๆ มากมาย ยอมรับตัวเองมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่พี่ชายอะไรก็ไม่รู้

พุทธเดิมทีก็เป็นพุทธอยู่แล้ว แต่ควรเป็นสรรพสัตว์ก่อน จึงจะเข้าใจ ถ้าไม่เป็นสรรพสัตว์จะไม่เข้าใจ ไม่เคยเป็นสรรพสัตว์ แม้จะเป็นพุทธ แต่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น พวกเราต้องมาเรียนรู้ที่ทางโลก เรียนรู้การเป็นคน เรียนรู้ความทุกข์ความลำบาก จากนั้น จึงจะทราบว่า"ความสุข" คืออะไร? เรียนรู้"ความอนิจจัง" หลังจากนั้น จึงจะทราบว่า"ชั่วนิรันดร"คืออะไร? เรียนรู้โลก "อวิชชา" จากนั้น จึงจะทราบว่า"ปัญญา"คืออะไร?

ก่อนที่พวกเธอไม่ได้เรียนรู้ "ความสมบูรณ์" แม้จะเป็นพุทธ แต่เป็นเพียง "พุทธอวิชชา" แล้วค่อย ๆเป็น "พุทธรู้แจ้ง" เป็นพุทธแท้เหมือนเดิม ความจริงพวกเรามีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ไม่ใช่ต้องรอการรู้แจ้งแล้วจึงจะมี เพียงแต่พวกเราไม่รู้ตัวเท่านั้น

ก่อนรู้แจ้งกับหลังรู้แจ้งเหมือนกัน แต่ก่อนมีความสามารถมากมาย หลังจากรู้แจ้งแล้ว ก็ยังมีความสามารถเท่าเดิม เพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่ทราบว่าตัวเองมีความสามารถมากมาย ปัจจุบันเมื่อทราบแล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ความทุกข์เป็นโพธิ สรรพสัตว์เป็นพุทธ" พระองค์ไม่ได้โกหก วันนี้อาจารย์อธิบายความหมายนี้ให้พวกเธอฟัง ทำไมพุทธก็เป็นสรรพสัตว์? ทำไมพุทธจึงมาเป็นสรรพสัตว์ในโลกนี้? ต้องได้รับความทุกข์มากมายเช่นนี้?

ความจริง ความทุกข์ก็ไม่ใช่ความทุกข์ มันเป็นการเรียนรู้ของพวกเรา เหมือนกับที่พวกเราไปเรียนรู้ที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนชั้นประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ต่างก็ไม่ใช่ว่าจะเรียนรู้ได้ง่าย แต่เมื่อเรียนวิชาต่าง ๆจบแล้ว พวกเราจะเป็นคนที่ฉลาดขึ้น เมื่อโตขึ้นแล้ว จะมีตำแหน่งของตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ ไม่เรียนไม่ได้ ไม่เรียนก็ไม่ทราบว่าตัวเองมีความสามารถอะไรบ้าง

ถ้าสรรพสัตว์ต่างมีจิตพุทธ เดิมทีก็เป็นพุทธแล้ว แล้วจะบอกว่าผู้หญิงไม่สามารถเป็นพุทธได้ ? เป็นการพูดเลอะเทอะ เป็นพุทธก็เป็นพุทธ ไม่มีอะไรแตกต่าง ดังนั้น อาจารย์บอกพวกเธอมาหลายครั้งแล้ว นอกรีด ในรีด ต่างก็เป็นสัจธรรม ดี ชั่ว ก็เป็นพุทธ ไม่มีดีไม่มีชั่ว แต่เป็นดินแดนที่สูง ก่อนที่พวกเราจะไปถึงดินแดนที่สูงนี้ พวกเราต้องเรียนรู้ และต้องทำความดี ห้ามพูดว่า เพราะว่าดีกับชั่วเหมือนกัน ดังนั้น จึงไม่ต้องเรียนรู้ เดิมทีพวกเราก็เป็นพุทธอยู่แล้ว ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญ คิดอย่างนี้ไม่ได้!

ความจริงพวกเราเป็นพุทธ แต่ต้องบำเพ็ญ เพราะพวกเรายังไม่เข้าใจว่าพวกเราเป็นพุทธ อาจารย์พูดเช่นนี้ พวกเธอก็เชื่อ เพราะพวกเธอเชื่ออาจารย์ แต่พวกเธอก็ยังไม่เข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง ดังนั้น ต้องบำเพ็ญ มิฉะนั้น พวกเราจะมีความทุกข์ เมื่อไม่รู้จักตัวเอง คนอื่นด่าพวกเรานิดหน่อยก็จะเจ็บใจ ผู้อื่นโกรธแค้นพวกเรา พวกเราก็โกรธแค้นเขาด้วย เพราะว่า ยังไม่เข้าใจสรรพสัตว์ต่างเป็นพุทธ ยังไม่ถึงขั้นจิตเสมอภาค ยังละเลือกที่รักมักที่ชัง ดังนั้น ต้องบำเพ็ญ บำเพ็ญจนถึงขั้นใจของพวกเราไม่หวั่นไหว มองสรรพสัตว์ เหมือนมองตัวเอง เป็นเช่นนี้จึงจะเป็นการเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง