รายงานตามคำสั่งและการจัดอันดับของท่านอาจารย์

 

ฟิลิปปินส์

ชาวฟิลิปปินส์ยื่นมือ
ให้การดูแลผู้อพยพชาวเอาหลาก

โดยนายโจ แลด ซานโทส* (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

นางอีเมลด้า มาร์กอสให้การดูแลผู้คนที่อาศัยในเรือไม่มีแผ่นดินอยู่

 
ในปี 2534 ท่านอนุตตราจารย์ชิงไห่แสดงความขอบคุณนางอีเมลด้า อาร์ มาร์กอส (ซ้าย) สำหรับการเปิดประเทศฟิลิปปินส์ให้ผู้อพยพชาวเอาหลาก

ในปี 2522 เรือชื่อ Tung An และชาวเอาหลากมากกกว่า 2,000 คน มาถึงอ่าวมะนิลา พวกเขาถูกกีดกั้นไม่ให้เหยียบแผ่นดินฟิลิปปินส์ประมาณ 8 เดือนอันยาวนาน มันไม่ใช่เพราะความไร้หัวใจและการขาดการไตร่ตรองของชาวฟิลิปปินส์ แต่เพราะโลกนี้ดูเหมือนไม่ได้เตรียมไว้ให้พวกเขา องค์การสหประชาชาติถูกจับได้ว่าได้สร้างเครื่องกีดกั้นทางการเมืองเพื่อปกป้องดินแดนของแต่ละประเทศ

นางอีเมลด้า อาร์ มาร์กอส สตรีหมายเลขหนึ่งของฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ภริยาของผู้มีชื่อเสียงในเอเชียเฟอร์ดินานด์ อี มาร์กอสเป็นผู้แรกที่กล่าวให้ความสนับสนุนหลบลี้ชั่วคราว สำหรับชีวิตมากกว่าสองพันชีวิตที่อยู่กลางอ่าวมะนิลาใน Tung An

การรายงานอย่างรีบร้อนจาก Tung An เปิดเผยว่ามีคน 5 คนแบ่งกล้วย 1 ลูกสำหรับมื้ออาหารของ 1 วัน สิ่งนี้ทำให้นางมาร์กอสร้องไห้ เธอกล่าวว่า “พวกเราทั้งหมดเป็นชาวอพยพ ถ้าพวกเขาไม่มีแผ่นดิน เราทั้งหมดก็ไม่มีแผ่นดิน ไม่มีใครในโลกมีประเทศของพวกเขาเอง สำหรับเราต่างเป็นผู้อพยพ” ตามผลที่ได้ สถานที่แห่งหนึ่งใน Puerta Princesa ในเมืองพาลาวันถูกประกาศเป็นที่หลบลี้ชั่วคราว (ศูนย์ดำเนินการลี้ภัยฟิลิปปินส์ รู้จักกันทั่วไปในนาม PRPC)สำหรับคนบนเรือผู้ซึ่งรอคอยนโยบาย จะทำอะไรกับชายหญิงเหล่านี้จากทะเล

สำหรับผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ของ PRPC นางมาร์กอส ในฐานะผู้ที่ยึดมั่นในความคิดในการช่วยเหลือมนุษย์ เป็นกุญแจในการเปิดแนวฝั่งแผ่นดินฟิลิปปินส์ให้มากกว่าผู้อาศัยในเรือชาวเอาหลาก คลื่นที่เกี่ยวกับกระแสน้ำขึ้นน้ำลงเอาหลากรับการคุ้มครองใน PRPC นางมาร์กอสเป็นผู้นำฟิลิปปินส์คนแรกในเอเชียที่ต่อสู้สำหรับชาวเอาหลากอย่างไม่ต้องสงสัย บางทีการกระทำบุกเบิกของเธอกลายเป็นสัญญาณที่ส่งความอบอุ่นให้หัวใจของผู้นำอื่น ๆ และช่วยให้พวกเขาเคลื่อนไหวพร้อมเพรียงกันในการยื่นมือช่วยเหลือ

ศูนย์ผู้อพยพพาลาวันได้รับความช่วยเหลือของสหประชาชาติ และได้รับแบ่งทุนในการดำเนินงาน คนเหล่านั้นผู้ซื่งอยู่ในแคมป์ผู้อพยพทั่วทุกหนแห่งในเอเชียอยู่ในสถานะผู้อพยพที่ได้รับอนุญาตโดยอัตโนมัติ หลังมีนาคม 2532 อย่างไรก็ตามองค์การสหประชาชาติปฏิเสธที่จะรับรองพวกเขาเป็นผู้อพยพ จากจุดนั้นเอง สถานะของพวกเขากลายเป็น “ผู้แสวงหาสถานที่หลบภัย” ด้วยความหวังน้อยนิดที่จะไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศที่ 3

ประธานาธิบดี ฟิเดล รามอส ♥♥♥♥♥♥♥ ออกคำสั่งอนุญาต
ให้ที่อยู่อาศัยถาวรแก่ชาวเอาหลาก 5,000 คน

ในปี 2538 สมาชิกคณะกรรมมาธิการองค์การสหประชาชาติสำหรับผู้ลึ้ภัย (UNHCR)ตัดสินใจหยุดให้ทุนแก่แคมป์ผู้ลี้ภัยทั่วทุกหนแห่งในเอเชีย บางประเทศเริ่ม “บังคับส่งคืนถิ่นที่อยู่เดิม” ส่งผู้ลี้ภัยกลับบ้าน บางครั้งด้วยความโหดร้ายรุนแรง ผู้ลี้ภัยจำนวนมากประท้วงการปฏิบัติเช่นนี้ บ้างก็ว่าจะฆ่าตัวตาย

วันที่ 9 มิถุนายน 2538 ใกล้วันที่ได้รับอิสรภาพครั้งที่ 97 ของฟิลิปปินส์ (12 มิถุนายน) ประธานาธิบดี ฟิเดล รามอสยื่นคำอนุญาตให้ที่อยู่อาศัยถาวรแก่ชาวเอาหลาก 5,000 คน ผู้ซึ่งเข้ามาประเทศก่อนพ.ศ. 2522 ในเวลาที่ได้ยินข่าวนี้ ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ผู้ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยช่วยหาบ้านให้ผู้อาศัยบนเรือได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีรามอส และรัฐบาลฟิลิปปินส์ยินดีกับเขาในวันที่ได้รับอิสรภาพและสำหรับกลุ่มประชาชนของเขาสำหรับความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอนุตราจารย์ขอบคุณพวกเขาในการสนับสนุนผู้ลี้ภัยเอาหลาก 5,000 คน

เมื่อ UNHCR หยุดให้ทุนแคมป์ รัฐบาลฟิลิปปินส์พิจารณาส่งผู้ลี้ภัยชาวเอาหลากที่เหลืออยู่ไปบ้าน ผู้ลี้ภัยปฏิเสธการส่งกลับคืนถิ่นที่อยู่เดิมและประท้วงอดอาหาร ชาวเอาหลากประมาณ 700 คนหนีแคมป์ลี้ภัยพาลาวัน เพราะกลัวว่าพวกเขาจะถูกส่งกลับบ้าน พวกเขาจำนวนมากเป็นผู้มีการศึกษาน้อยไม่มีครอบครัว ดังนั้นพวกเขาเป็นอันดับแรกที่จะถูกส่งกลับ

 
ข่าวที่ตัดมาเกี่ยวกับการให้ที่อยู่อาศัยถาวรแก่ชาวเอาหลาก 5,000 คนของประธานาธิบดีฟิเดล รามอส และจดหมายแสดงความขอบคุณจากท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ถึงประธานาธิบดีรามอสและรัฐบาลฟิลิปปินส์

 

โบสถ์คาทอลิค ♥♥♥♥♥♥♥ สนับสนุนผู้ลี้ภัยและวิจารณ์รัฐบาลฟิลิปปินส์สำหรับการละทิ้งพวกเขา ทั้ง ๆ ที่รับแรงกดดันนานาชาติ ประธานาธิบดี ฟิเดล รามอส ตัดสินใจยกเลิกแผนที่จะส่งพวกเขากลับคืนที่อยู่เดิม และอนุญาตให้ “ผู้แสวงหาสถานที่หลบภัย” 2,600 คนอยู่ในประเทศอย่างไม่เจาะจงภายใต้การดูแลของโบสถ์คาทอลิคโรมันแทน ในชั่วขณะหนึ่งที่แน่นอน ฟิลิปปินส์ กลายเป็นประเทศเดียวในโลกเท่านั้นที่เสนอที่พักอาศัยถาวรสำหรับ “ผู้แสวงหาสถานที่หลบภัย” เอาหลาก

อย่างที่เป็นอยู่ไม่มีกฎหมายที่ระบุได้ว่า ส่งที่อยู่อาศัยที่ถูกกฎหมายให้พวกเขา แต่มันเป็นปาฏิหารย์ครั้งใหญ่ แม้ไม่มีกฎหมายจำเพาะสำหรับชาวเอาหลากที่จะอยู่ในฟิลิปปินส์ พวกเขาได้รับการปฏิบัติสูงสุดที่จะเป็นไปได้ในการอยู่ในประเทศ และได้รับการเสนอโอกาสตัดสินใจด้วยตัวเขาเองว่าจะอยู่ในฟิลิปปินส์หรือดิ้นรนที่จะไปประเทศที่พวกเขาเลือกอย่างน่าประหลาดใจ

ในความคิดของฉัน ประเทศเราอนุญาตให้พวกเขาอยู่บนพื้นฐานหลักคือ มนุษยธรรมและการกระตุ้นจากประชาชนมากมายที่เกี่ยวข้อง และการประชุมเจ้าคณะคาทอลิคที่มีอิทธิพล ประธานาธิบดีรามอส ผู้นำคริสต์ศาสนิกชนที่มีอำนาจจัดการกับปัญหาของชาวเอาหลากด้วยใจอบอุ่น ชาวเอาหลากได้รับการยอมให้อยู่ด้วยอย่างจริงใจและได้รับอนุญาตให้ย้ายประเทศอย่างสมบรูณ์ราวกับพวกเขาอยู่ในถิ่นเดิมของเขาเอง

บุคคลและองค์กรมากมายยื่นมือช่วยเหลือ

ในเวลาเดียวกัน มีความพยายามมากมายที่จะช่วยผู้อาศัยบนเรือเอาหลากที่เหลืออยู่ สมาคมนานาชาติอนุตราจารย์ชิงไห่จัดหาการสนับสนุนทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ บวกกับบุคคลและองค์กรที่ไม่ใช่โดยรัฐมากมาย เช่น ทนายความทินน์ ฮอย ตัวเขาเองเป็นผู้ลี้ภัยในอดีต ผู้อาศัยบนเรือ S.O.S. นำโดยด็อกเตอร์ งูเยน ดินห์ เธียง และความช่วยเหลือด้านกฎหมายสำหรับผู้แสวงหาสถานที่หลบภัย(LAVAS) ทั้งหมดทำงานหนักเพื่อสถานที่ตั้งรกรากใหม่ของผู้อาศัยบนเรือชาวเอาหลากในประเทศที่ 3 ตามผลที่ได้ในเมษายน 2547 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสถานที่ตั้งรกรากใหม่ ในวันที่ 26 กันยายน 2548 ชุดแรก ชาวเอาหลาก 229 คน ผู้อาศัยบนเรือตั้งถิ่นฐานในอเมริกาภายใต้ข้อตกลงที่อนุญาตผู้ที่เหลืออยู่ 1,600 ผู้แสวงหาสถานที่หลบภัยชาวเอาหลากในฟิลิปปินส์ที่จะตั้งรกรากใหม่ในสหรัฐอเมริกา

แสดงความขอบคุณสำหรับความเห็นอกเห็นใจ และความร่วมมือที่กรุณาระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์และโบสถ์คาทอลิค ร่วมถึงใจที่เปิดกว้างของคนฟิลิปปินส์และความใจดีของคนอเมริกา ท้ายที่สุด “ผู้อาศัยบนเรือ” ชาวเอาหลากสามารถจบบทสุดท้ายของเรื่องราวของพวกเขาด้วยความสุข

 

 ♥♥♥♥♥♥♥
สมาชิกสภาสูง อาคิลิโน คิว พิเมนเทล จูเนียร์ แสดงให้เห็นถึงจิตใจที่มีมนุษยธรรมของชาวฟิลิปปินส์

สำหรับเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ฉันได้รวมก็อปปี้ของใบเสร็จรับเงินสภาสูง 1152 สำหรับให้แน่ใจว่า มันจะสะท้อนในประวัติศาสตร์ตามการอธิบายด้วยภาพอย่างเหมาะสมว่า ชาวฟิลิปปินส์ดูแลพี่ชายและพี่สาวชาวเอาหลากของเราอย่างจริงใจ

สิ่งที่ตามมาคือ ข้อความที่อธิบายเหตุผลสำหรับใบเสร็จรับเงิน

สภาสูง S.B.หมายเลข 1152

แนะนำโดยสมาชิกสภาสูง อาคิลิโน คิว พิเมนเทล จูเนียร์

ข้อความคำอธิบาย
ใบเสร็จรับเงินสภาสูง 1152 ประพันธ์โดยสมาชิกสภาสูง อาคิลิโน คิว พิเมนเทล จูเนียร์

ใบเสร็จรับเงินนี้ได้ค้นหาเพื่อที่จะอนุญาตสถานะที่อยู่อาศัยถาวรให้กับผู้ลี้ภัยชาวเวียตนาม และผู้แสวงหาสถานที่หลบภัยที่ได้รับการรับรองในฟิลิปปินส์ ชาวฟิลิปปินส์ต้อนรับผู้มาเยือนคนต่างด้าวหลากหลายผู้เข้ามาประเทศของเราโดยหลีกเลี่ยงมิได้ ผู้ลี้ภัยชาวเวียตนามที่อาศัยในพาราวันและที่อื่นในประเทศกำลังต้องการคำอนุญาตของรัฐบาลที่จะอยู่อย่างถาวรที่นี่ ผู้ลี้ภัยชาวเวียตนามอยู่ท่ามกลางคนนับพัน ผู้ซึ่งหนีจากถิ่นกำเนิดที่เสียหายจากสงครามของพวกเขาหลังการล่มสลายของไซง่อน พวกเขาหวนหาวงแขนของเหล่าเสรีชนไม่สามารถรับกฎเหล็กของคอมมิวนิสม์ ตอนนี้การขอร้องที่จริงจังของพวกเขาได้รับสิทธิพิเศษในการอยู่ถาวรในประเทศของเรา พวกเขาต้องการนำมาใช้แบบเป็นของพวกเขา สำหรับพวกเขาสิ่งนี้คือ “ดินแดนคำมั่นสัญญา” ความสนใจของสาธารณะต้องการให้เราตอบกลับคำร้องขอของผู้ลี้ภัยที่เป็นทุกข์เหล่านี้ ในท่าทีที่สมควรบนบทบาทของฟิลิปปินส์ตามแบบผู้นำของประชาธิปไตยในเดอะ โพสท์ อีดีเอสเอ ฟาร์ อีสท์ สำหรับเหตุผลนี้ ใบเสร็จรับเงินนี้ถูกเก็บเข้าแผงทำให้ถูกกฎหมายและวางระเบียบการอยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยชาวเวียตนามในฟิลิปปินส์ อย่าให้เราลืมสิ่งนั้นที่ไม่นานเกินไป เราก็เป็นประเทศที่เผชิญหน้ากับประสบการณ์ที่คล้ายกันด้วย เมื่อผู้ปกครองที่กดขี่เป็นเจ้า ชาวฟิลิปปินส์ที่ถูกตามรบกวนจำนวนมากหนีไปประเทศอื่นหาที่ลี้ภัยชั่วคราวในตอนนั้น

ที่จริงมีสิ่งอีกมากมายที่จะต้องขอบคุณโลกเสรี เรากำลังถูกเรียกเป็นประเทศที่ให้ผลตอบการกระทำที่ดี โดยอนุญาตรับรองผู้ลี้ภัยชาวเวียตนามเป็นชาวเมืองถาวรของฟิลิปปินส์ สิทธิของใบเสร็จรับเงินนี้เป็นที่เรียกร้องอย่างจริงจัง

อาคิลิโน คิว พิเมนเทล จูเนียร์

ผู้ประพันธ์บทความนี้ นายโจ แลด ซานโทส เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ชาวฟิลิปปินส์ ผู้ซึ่งติดตามท่านอาจารย์ชิงไห่ในการเยี่ยมเยียนพาลาวัน วันที่ 8 เมษายน 2534 เขาบอกว่า เขาโชคดีมากที่ได้เป็นประจักษ์พยาน