รายงานตามคำสั่งและการจัดอันดับของท่านอาจารย์
โดยกลุ่มข่าวอังกฤษ(ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ปีทองที่3 (2549) ประธานาธิบดีของลัทเวีย พณ ท่าน ดร.แวร่า ไวค-ฟรีเบอร์ก้า ♥♥♥♥แสดงความกล้าหาญกล่าวคำขออภัยต่อพฤติกรรมของประเทศของท่านในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างงานเลี้ยงต้อนรับจัดโดยประธานาธิบดีของอิสราเอล พณ ท่าน นายโมเช่ คาทสาฟ ท่านกล่าวว่า "ฉันเสียใจกับการมีส่วนร่วมของชาวลัทเวียในเรื่องกำจัดยิวเมื่อก่อนนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง" การประกาศนี้ขจัดความสงสัยของประชาชนยิวลัทเวียผู้ร่วมอุทิศต่อประชาธิปไตยของประเทศ ตามข่าวบอลติกไทม์ท่านกล่าวว่า "เสียใจที่คนในลัทเวียมีส่วนร่วมการรณรงค์ของนาซีที่จะทำลายล้างประชาชนยิวในยุโรปให้หมดสิ้น แต่ก็มีจำนวนของผู้มีจิตกล้าหาญด้วย พวกเขามีประมาณ 500 คน ตามเอาสารทางการในลัทเวีย เป็นผู้เสี่ยงชีวิตของพวกเขาและชีวิตผู้ที่เขาเหล่านั้นรัก ทำการป้องกันและให้ที่แอบซ่อนแก่ชาวยิวที่เป็นเพื่อน เพื่อนบ้าน และคนรู้จักของพวกเขา รวมไปถึงคนที่ไม่รู้จักกันเลย ดร.แวรา ไวค-ฟรีเบอร์ก้า เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2480 ที่ริกา เมืองหลวงของลัทเวียท่านเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของลัทเวียได้รับเลือกในปี2542และใด้รับเลือกใหม่อีกในปี2546 ท่านอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยช่วงวัยเด็กในเยอรมัน ภายหลังย้ายไปอยู่ในโมรอคโคก่อนที่จะไปปักหลักในคานาดาตอนอายุ 16 ท่านใด้รับความสำเร็จในอาชีพด้านการศึกษาโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา เชี่ยวชาญสาขาด้านความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและภาษา ท่านใด้รับรางวัลหลายรางวัลในงานศึกษาค้นคว้าของท่านจากสถาบันการศึกษาและองค์กรชาวลัทเวียทั่วโลก และท่านมีชื่อเสียงในด้านเก็บรวบรวมเพลงลูกทุ่งชาวลัทเวีย ในปี 2541 ท่านกลับไปลัทเวียรับตำแหน่งหัวหน้าสถาบันลัทเวีย เป็นองค์กรเอ็นจีโอ จุดประสงค์ของเขาคือยกระดับเรื่องคนของประเทศลัทเวียและคนลัทเวียทั่วโลก ท่านใด้รับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ลัทเวียเป็นประเทศเล็กในบอลติก มีประชากร 2.3 ล้านคน ที่ซึ่งครั้งหนึ่งมีเศรฐกิจและการเมืองไม่มั่นคง ภายใต้ความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาดของท่าน เวลานี้ใด้เปลี่ยนไปเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีความสุขกับการเมืองที่มั่นคงและการเติบโตทางเศรฐกิจที่แข็งแรง ประธานาธิบดี ไวค-ฟรีเบอร์ก้าแสดงบทบาทที่มีความดีเด่นในการนำประเทศเข้าไปอยู่ในอียู เดือนพฤษภาคม 2547 จากนั้นมาการต่อสู้ปราบปรามปัญหาคอร์รับชั่น และยกระดับกฏหมายของลัทเวียให้ใด้มาตราฐานของยุโรปได้กลายมาเป็นจุดสำคัญของประเทศ ในด้านตอบสนองเรื่องสิ่งแวดล้อม รัฐบาลได้จัดตั้งความสำคัญอันดับแรกที่จะปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่ม ระบบท่อน้ำเสีย การจัดการของเสียในครัวเรือนและของเสียที่เป็นอันตราย เช่นเดียวกับการลดมวลภาวะ ซึ่งจะเพิ่มพูนให้คุณภาพชีวิตชาวลัทเวียดีขึ้น ในยุคทองใหม่นี้ประธานาธิบดีลัทเวีย พณ ท่าน ดร.แวร่า ไวค-ฟรีเบอร์ก้า ได้แสดงเป็นตัวอย่างที่วิเศษสุดด้านตำแหน่งผู้นำความกล้าหาญ ถ่อมตน สร้างสันติภาพ เราขอให้ท่านได้รับความสำเร็จยิ่งยิ่งขึ้นในความพยายามที่จะสร้างความรุ่งเรืองและสันติภาพให้แก่ประเทศ
|