มองเข้าไปในธรรมชาติ

 

เอาชนะความเป็นทะเลทราย
ด้วยอาหารมังสวิรัติ

โดยพี่ประทับจิตหญิงเลฟกี้ พัฟลิดิส บริสเบน ออสเตรเลีย (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

ได้มีการกล่าวไว้ด้วยซ้ำว่า ผืนแผ่นดินที่รกร้างว่างเปล่ามากมาย ทะเลทรายจำนวนมากเป็นผลมาจากการเลี้ยงสัตว์ในอดีต เพราะว่าที่ใดที่มีการเลี้ยงวัว ผืนแผ่นดินนั้นมักจะไม่สามารถใช้ปลูกพืชได้ … ฉันไม่ได้กำลังบอกเธอถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความรู้สึกผิด ซึ่งเกิดขึ้นจากการทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ฉันเพียงแต่กำลังบอกเธอในด้านวิทยาศาสตร์”~ท่านอนุตราจารย์ชิงไห่

ตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวข้างต้น เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของชีวิตสัตว์ และพวกมันควรถูกรับประทานหรือไม่ อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพของมนุษย์ และเป็นอันตรายต่อสัตว์ และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเจาะจงมากขึ้น มันสามารถทำให้มีการและเล็มหญ้ามากเกินไปโดยปศุสัตว์ แกะ แพะ และสัตว์อื่น ๆ และทำให้เกิดสภาพเป็นทะเลทรายหรือการเปลี่ยนแปลงของผืนแผ่นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นทะเลทราย

ในปัจจุบันความต้องการปริมาณเนื้อสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องเลี้ยงสัตว์บนทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ และการทำเช่นนี้เป็นเวลานาน ๆ ทำให้ดินเสื่อมลง ซึ่งจะทำให้ถูกกัดเซาะได้ง่ายขึ้นโดยลมและฝน ซึ่งจะทำให้ผิวดินชั้นหน้าเสื่อมสภาพ และไม่สามารถปลูกพืชผลได้ ยกตัวอย่าง จากปี 2493-2518 ในซาเฮลซึ่งเป็นเขตพรมแดนในแอฟริกา ระหว่างทะเลทรายซาฮาร่าทางตอนเหนือและผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าในตอนใต้ ทะเลทรายได้เคลื่อนตัวอย่างไม่น่าเชื่อไปทางตอนใต้ 100 กิโลเมตร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพการทำลายล้างอย่างมากจากการกินหญ้าของสัตว์และสภาพดินถูกกัดเซาะ

การเกิดเช่นนี้ไม่ยากที่จะหยั่งรู้ได้ เมื่อคิดถึงว่ามนุษย์มีความต้องการเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงไรในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้ ยกตัวอย่างระหว่างปี 2493-2545 จำนวนประชากรของวัว ควาย แกะ และแพะในประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และสัตว์เหล่านี้ได้ทำลายผิวดินในมณฑลทางทิศเหนือและตะวันตกของประเทศ ซึ่งสัตว์เหล่านี้ได้และเล็มหญ้า ลมที่แรงกล้าก็ได้พัดพาเอาผิวดินที่ว่างเปล่านี้ ทำให้ผืนแผ่นดินกลายเป็นทะเลทราย ภายใต้สภาพเหล่านี้ผิวดินหลายล้านตันสามารถถูกเคลื่อนไหวภายในวัน ๆ เดียว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับประชากรท้องถิ่นด้วยพายุฝุ่น และความเป็นทะเลทรายที่เคลือบคลานเข้ามาสู่ผืนแผ่นดินของพวกเขา

หากมนุษย์ยังคงเพิ่มปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ในอัตราเช่นนี้ ก็จะต้องมีการใช้ผืนแผ่นดินของโลกมากขึ้นเพื่อเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสูญเสียของดินที่อุดมสมบูรณ์ และการขยายบริเวณของทะเลทราย และทำอันตรายกับสภาพแวดล้อมอันบอบบางของเรามากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคนจำนวนมากขึ้นก็จะไร้ที่อยู่อาศัย ตามที่เว็บไซต์วิทยาศาสตร์www.worldwatch.org ได้กล่าวไว้ว่า สภาพความเป็นทะเลทรายได้ทำให้คน 135 ล้านคนทั่วโลกเสี่ยงต่อการถูกขับไล่ออกไปจากผืนดินของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ถ้าประชากรของโลกกลายมาเป็นมังสวิรัติ การตัดไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ก็จะหยุดลง และผืนแผ่นดินที่จะใช้สำหรับปลูกพืชก็จะลดน้อยลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ 70% ของธัญพืชที่ปลูกถูกใช้ไปในการเลี้ยงสัตว์ ในรัฐควีนแลนด์ของออสเตรเลียเพียงแห่งเดียวเท่านั้น 95% ของป่าถูกกำจัดไปเพื่อให้สัตว์กินหญ้า! ดังนั้น ถ้าทุกคนเป็นมังสวิรัติ พื้นที่จำนวนมากที่แต่ก่อนถูกใช้สำหรับกินหญ้าก็จะกลายมาเป็นป่าดังเดิม จึงช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อมโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาดินที่เสื่อมคุณภาพ และแบบแผนของการเกิดฝน และทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติน้อยลงจากแผ่นดินเลื่อน และน้ำท่วมปริมาณมาก

จากข้อเท็จจริงเหล่านี้ ถึงเวลาแล้วสำหรับมวลมนุษย์ที่จะหยุดการเข่นฆ่าบนผืนแผ่นดินอันมีค่าของโลกและการฆ่าพี่ ๆ น้อง ๆ ในอาณาจักรสัตว์ ในฐานะเป็นผู้บำเพ็ญกวนอิมเราสามารถช่วยในขบวนการนี้ได้ โดยการเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้อื่น ทำตามคำสอนของท่านอาจารย์ ใช้ชีวิตที่สูงส่งโดยการเป็นมังสวิรัติ และสวดภาวนาให้เพื่อนมนุษย์ของเรา เปลี่ยนชีวิตเป็นผู้ที่มีความรัก และเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมไปถึงอาหารมังสวิรัติ ยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้ท่านอาจารย์ได้ยกระดับจิตสำนึกของโลกไปยังมิติที่สูงกว่า และพระพร พระกรุณาธิคุณอันต่อเนื่องของท่านที่คาดหวังได้ว่ามวลมนุษย์จะเปลี่ยนแปลง เพื่อให้มีความเมตตาเพิ่มขึ้นสำหรับสัตว์และมีความเคารพต่อแม่แห่งธรรมชาติ


เว็บไซต์อ้างอิง:

http://www.botany.uwc.ac.za/Envfacts/facts/desertification.htm
http://www.earth-policy.org/Books/PB/PBch1_ss4.htm
http://www.ciesin.org/docs/002-193/002-193.html
http://www.worldwatch.org/pubs/sow/2005/tocid/225/
http://www.viva.org.uk/guides/feedtheworld.htm
http://www.bodyfueling.com/ARTICLES/GMOs1.html
http://www.nrm.qld.gov.au/slats/report.html