การปฏิบัติในอดีตในการเผาเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ของโลก (ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ) ได้สร้างปัญหาหลัก ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมที่โลกของเราเผชิญอยู่ในทุกวันนี้คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องมาจากโลกร้อนขึ้นและมลภาวะของอากาศ น้ำ และแผ่นดิน เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ การใช้เชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์จะลดลงต่อไปในขณะที่มันถูกใช้อยู่ ข่าวดีก็คือ ผู้นำของโลกกำลังตื่นขึ้นต่อสถานการณ์นี้ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 ในการพูดที่การประชุมสภาพภูมิอากาศสหประชาชาติที่มอลทรีออล แคนาดา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐบิล คลินตันได้เสนอข้อผูกมัดที่จริงจังต่อพลังงานสะอาดในอนาคต จากการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและรถยนต์ไฮบริดไปทั่วโลก รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงชีวภาพ[1] ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์มานานแล้ว ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2535 ท่านอาจารย์ได้แสดงปาฐกถาธรรมในมาเลเซียที่ชื่อว่า“เริ่มต้นด้วยนิพพานและจบลงบนโลก”: “โลกของเรายังคงมั่งคั่งมาก มั่งคั่งในทุกสิ่งทุกอย่าง ในแร่ธาตุและในทรัพยากรชนิดต่าง ๆ ทั้งหลาย แม้ถ้าเราไม่มีน้ำมัน เราก็จะพบสิ่งอื่นที่จะทำให้รถเราวิ่งได้ ยูเอฟโอไม่มีน้ำมัน ... มีเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ที่เราสามารถใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ กันในโลกที่สูงกว่า พวกเขาไม่ต้องการน้ำมันเหมือนที่เราต้องการ มันยุ่งยากมากเกินไปและหนักเกินไป พวกเขาใช้พลังงานแบบอื่น และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพลังงานของพระอาทิตย์ เรามีพลังงานอย่างอื่นซึ่งอยู่ในบรรยากาศ ฉันคิดว่า นักวิทยาศาสตร์บางคนได้เริ่มต้นที่จะค้นพบแล้ว แต่ยังไม่ได้นำมาใช้” มีความคิดริเริ่มในทางปฏิบัติมากมายที่ได้ถูกค้นคิด เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ของเราและเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของเราเพื่อว่า เราจะสร้างความเสียหายที่น้อยลง และสามารถฟื้นฟูโลกได้ ประสิทธิภาพพลังงาน
เทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานมุ่งเป้าไปที่รูปแบบที่มีอยู่ทั้งหลายของการใช้พลังงาน อุปกรณ์ประหยัดพลังงานได้ถูกใช้มานานแล้วในส่วนต่าง ๆ ของโลก และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในสหรัฐ[2]เครื่องตั้งเวลาแบบเทอร์โมสตัท และ การทำน้ำให้ร้อน "ตามอุปสงค์" เป็นตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง เครื่องตั้งเวลาแบบเทอร์โมสตัท สงวนแหล่งความร้อนและความเย็นโดยการตั้งอุณหภูมิแบบสามารถตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงวันหรือวันต่าง ๆ ของสัปดาห์ เครื่องทำน้ำร้อน "ตามอุปสงค์" ลดความจำเป็นในการเก็บน้ำ ณ อุณหภูมิคงที่ในถังน้ำขนาดใหญ่ เพราะว่ามันทำความร้อนให้กับน้ำ เฉพาะเมื่อต้องการเท่านั้น
ไฮโดรเจน
โฮโดรเจนมักถูกเรียกอยู่เสมอว่าเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก แต่มันไม่มีอยู่ในธรรมชาติในรูปแบบบริสุทธิ์ (H2)ดังนั้น มันจึงต้องทำให้เกิดขึ้นมาจากวัตถุอื่น ๆ อย่างเช่น มีเทน (CH4)หรือน้ำ (H2O)ไฮโดรเจนเป็นเหมือนกับระบบเก็บพลังงาน เป็นเหมือนแบตเตอรี่มากกว่าเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่แท้จริง บริษัทบางแห่งได้รับเงินทุนจากรัฐบาลในการวิจัยเพื่อพัฒนาไฮโดรเจนให้เป็นเชื้อเพลิง ยกตัวอย่าง บริษัทหนึ่งในแคนาดาได้พัฒนา “เครื่องให้กำเนิดไฮโดรเจนแสงอาทิตย์” ซึ่งสามารถผลิตไฮโดรเจนจากมีเทนโดยการใช้เครื่องปฏิกรณ์อุณหภูมิสูง ซึ่งถูกทำให้ร้อนโดยเซลแสงอาทิตย์ที่เรียงเป็นแผง ผลของกระแสก๊าซที่ได้ก็คือ H2, CO2, และน้ำ บริษัทเดียวกันนี้กำลังมองหาหนทางที่จะให้ได้มีเทนมาจากการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนของชีวมวล[3]เซลเชื้อเพลิงซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนและออกซิเจนกลับเป็นน้ำและไฟฟ้า ขณะนี้กำลังอยู่ในแผนการการวิจัยของผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันและญี่ปุ่น การใช้เซลเชื้อเพลิง,มอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์เผาไหม้เชื้อเพลิงจะให้พลังงานกับรถยนต์ได้มากกว่า[4]ยังมีการค้นคว้ากันต่อไปที่จะหาหนทางในการเก็บไฮโดรเจนในรูปแบบทางเคมีที่มีความเสถียร อย่างเช่น เมททัล ไฮดราย ซึ่งในที่สุดอาจจะนำไปสู่วิธีที่ปลอดภัยและประหยัดสำหรับการใช้ไฮโดรเจนที่แพร่หลาย
ชีวมวล
ชีวมวลเป็นคาร์บอนที่เผาไหม้ในรูปแบบของพืชที่มีชีวิต อย่างเช่น ต้นไม้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของพลังงานบนโลก มันมีความได้เปรียบที่มากกว่าเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ ด้วยการที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลคาร์บอนซึ่งมีอยู่ในบรรยากาศของโลกแล้วในทุกวันนี้ ดังนั้น การเผาไหม้มันจึงไม่เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างเห็นได้ชัด รูปแบบที่ทันสมัยของเชื้อเพลิงชีวมวล คือ ไบโอดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่เหมือนกับดีเซล ทำมาจากเมล็ดพืชและเอ็ททานอลซึ่งทำมาจากต้นพืชที่ให้น้ำตาล จากคำกล่าวของสมาคมวิชาชีพธุรกิจผู้บริโภค, SOCAP (Society for Consumer Affairs Professionals) ในแคนาดา พลังงานชีวมวลสามารถสร้างขึ้นได้จากป่าของแคนาดา จากการเกษตร และแหล่งของเสียที่เป็นของแข็งจากเทศบาล ในอัตราที่เท่ากับ 27% ของการบริโภคเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ของแคนาดา ตามที่วัดในปี พ.ศ.2542 นอกจากนั้น รัฐบาลในยุโรปและประเทศอื่น ๆ ได้ส่งเสริมให้ผู้คนเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่มีคาร์บอนเป็นกลาง กระทรวงพลังงานของสหรัฐยังได้แนะนำน้ำมันถั่วเหลืองเป็นแหล่งไบโอดีเซลหลัก และในมาเลเซียน้ำมันปาล์มก็ถูกนำมาใช้ผลิตไบโอดีเซลหลายพันตันแต่ละปี ไบโอดีเซลนั้นเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องมาจากต้นทุนที่ต่ำและความง่ายในการผลิต ในสหรัฐเชื้อเพลิงเอ็ททานอลส่วนใหญ่ถูกทำเป็นก๊าซโซฮอล ซึ่งเป็นส่วนผสมของเอ็ททานอล 10% และน้ำมันเบนซิล 90% บราซิล ประเทศขนาดใหญ่ในอเมริกาใต้ได้พึ่งพาเอ็ททานอลเป็นส่วนมาก จากต้นอ้อยที่ปลูกได้ในท้องถิ่นเพื่อเป็นพลังงานสำหรับรถยนต์ที่มากกว่า 2 ล้านคัน เอ็ททานอลไม่ปล่อยเบนซิลหรือซัลเฟอร์ออกมา รวมทั้งมันก็เป็นกลางทางคาร์บอน บราซิลผลิตประมาณ 16 พันล้านลิตร (3.52 พันล้านแกลลอน) ต่อปี โดยใช้ 14.5 พันล้านลิตรในประเทศ และมีความต้องการที่สูงขึ้นจากต่างประเทศ[5]วิธีการที่น่าจะดีที่สุดในการผลิตเอ็ททานอลก็คือเซลลูโลส ซึ่งพบได้เป็นจำนวนมากทั่วโลกในของเสียจากการเกษตร อย่างเช่น เศษไม้ ต้นข้าวโพด หรือต้นหญ้า เทคโนโลยีนี้ง่ายมาก การเปลี่ยนเซลลูโลสให้เป็นเอ็ททานอลที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ซึ่งสามารถทำได้จากการใช้จุลินทรีย์ก็อยู่ในการวิจัยด้วยเช่นกัน[6]. นิวเคลียร์ฟิวชั่น(การแบ่งแยกนิวเคลียส) ด้วยความที่ไม่เหมือนกับการแยกตัว ซึ่งแยกยูเรเนียมหรือพูโตเนียมเป็นชิ้นกัมมันตภาพรังสีเพื่อปลดปล่อยพลังงาน การแบ่งแยกนิวเคลียสเป็นการให้พลังงานโดยปราศจากมลภาวะทางกัมมันตภาพรังสี และทำงานโดยการรวมอะตอมไฮโดรเจนหนัก 2 อะตอม (ดิวทีเรียมหรือไทรเทียม) ให้เป็นฮีเลียมแบบง่าย ๆ ดิวทีเรียมที่สกัดมาจากน้ำทะเล 1 กิโลกรัม (1 อะตอมดิวทีเรียมต่อทุกๆ 7 พันอะตอมไฮโดรเจน) สามารถผลิตพลังงานได้มากเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกนิวเคลียสเป็นขบวนการที่ยากมากที่จะรักษาไว้ให้อยู่บนโลก เพราะมันใช้อุณหภูมิและความดันที่พบภายในดวงดาวเท่านั้น ประเทศ 4 ประเทศ คือ รัสเซีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน ในขณะนี้กำลังทำงานในการพัฒนา “พระอาทิตย์ประดิษฐ์” จนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียสามารถทำให้อุณหภูมิของปฏิกิริยาขึ้นถึง 100 ล้านองศาในในช่วงเวลาสั้น ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศจีนก็ได้ประกาศความสมบูรณ์ของโครงการที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยการใช้อุปกรณ์รวมสภาพนำยวดยิ่ง (superconducting fusion) ซึ่งพึ่งพาสนามแม่เหล็กขนาดสูงและเลเซอร์ที่ทรงพลังที่จะกดอัดและให้ความร้อนกับการหลอมเชื้อเพลิง วิศวกรชาวรัสเซียคนหนึ่งได้อ้างว่า “สถานีนิวเคลียร์เทอร์โมฟิวชั่นจะเป็นแหล่งพลังงานในอนาคตของเรา และปริมาณอันไม่มีขีดจำกัดของไฮโดรเจนสัมบูรณ์ในมหาสมุทรของโลกจะเป็นเชื้อเพลิงของเรา”
ทางเลือกอื่น ๆในการแก้ปัญหา
ทางเลือกพลังงานที่เป็นไปได้อื่น ๆ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ทั่วโลก มีดังต่อไปนี้: โซล่าคอนเซ็นเทรเตอร์: มีความสามารถในการทำให้พลังงานของดวงอาทิตย์เข้มข้นถึง 5,000 เท่า ผู้ผลิตรายหนึ่งอ้างว่า คอนเซ็นเทรเตอร์เหล่านี้สามารถใช้สำหรับการทำความร้อน เครื่องแอร์ที่ใช้อุณหภูมิเป็นหลัก เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า การผลิตไฮโดรเจนและการใช้อื่น ๆ[7]. เทอร์โม ดีโพลีเทอร์เมอร์ไรเซชั่น: ขบวนการเทคโนโลยีต่ำ ซึ่งสามารถลดสารอินทรีย์ให้เป็นน้ำมันที่เผาไหม้ได้ได้อย่างง่ายดาย และเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่มีประโยชน์อื่น ๆ (ดูธรรมสารฉบับ 161) โฟโตโวลเทอิค: โซล่าเซลและแผงแสงอาทิตย์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคนสามารถทำไฟฟ้าของเขาได้เองไม่ว่าที่ใดที่มีแสงอาทิตย์ กำลังมีการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของเซลเพื่อการผลิตกระแสไฟที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จีโอเทอร์มอล: สถานที่ที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟและน้ำพุร้อนได้ให้วิธีการที่หายาก แต่มีประโยชน์ในการจับเอาไอน้ำที่อยู่ภายในโลก เพื่อขับเคลื่อนกังหันไอน้ำหรือให้ความร้อนโดยตรง ลม: กำลังเป็นที่นิยมมากในยุโรปและในสหรัฐ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงลมราคาไม่แพงและติดตั้งง่าย มันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ณ สถานที่ใด ๆ ที่มีแรงลมสม่ำเสมอเพียงพอ พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง: ควบคุมพลังงานที่ยิ่งใหญ่ของทะเลเพื่อหมุนกังหันไอน้ำและสร้างพลังงาน ด้วยศักยภาพสำหรับการใช้ในบางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้มหาสมุทร เทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้และแนวคิดพลังงานใหม่กำลังได้รับการพัฒนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก บางเทคโนโลยีก็ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในขณะที่เทคโนโลยีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการลงทุนทางการค้า เทคโนโลยีพลังงานใหม่จะได้ผลมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้คนของโลกเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติของพวกเขาในการดำรงชีวิต โดยเปลี่ยนมารับประทานอาหารมังสวิรัติ และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของความเมตตาและความรัก ความจริงตามที่บทความอันหนึ่งซึ่งได้ตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ชี้ให้เห็นว่า อาหารเจช่วยในทางตรงในการทำให้เกิดความเจริญมั่งคั่งของชีวิตบนโลก เพราะว่า มันให้คาร์บอนไดออกไซด์เล็กน้อย ซึ่งก๊าซนี้เกี่ยวข้องกับการที่โลกร้อน ในทางตรงกันข้าม อาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นหลักในปริมาณสูง เช่น อาหารที่พบในส่วนต่าง ๆ มากมายของสหรัฐ สร้างคาร์บอนไดออกไซด์เกือบจะเท่ากับ 1.5 ตันต่อคนต่อปี ซึ่งมากกว่าอาหารเจที่มีปริมาณแคลอรี่เท่ากัน[8]. ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ เราควรสนับสนุนให้คนจำนวนมากขึ้นเข้าร่วมในการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณ เพื่อพวกเขาจะให้การสนับสนุนมากขึ้น มีความอ่อนไหว และปกป้องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ตามที่ท่านอาจารย์ได้ชี้ให้เห็นในปาฐกถาธรรมของท่าน“เรากำลังก้าวให้ทันสวรรค์”[ธรรมสารฉบับที่ 138]: “ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้ว ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังนำความจำ ที่มีค่ามากับพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจึงกำลังทำให้โลกของเราเป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยมากขึ้น ในด้านความสะดวกสบายทางวัตถุ “เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนของโลกได้ถูกยกระดับขึ้นไปสู่ระดับที่สูงกว่า นักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาในระดับสูงจากโลกที่สูงกว่า จึงสามารถมาเกิดในโลกของเราโดยมีความทุกข์ยากน้อยกว่า โดยที่ไม่สูญเสียความทรงจำของพวกเขาไปมากนักว่า พวกเขามาจากที่ใด ดังนั้น เราจึงมีความก้าวหน้าอันมหัศจรรย์เช่นนี้ทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ขอบคุณพวกเธอ” “ดังนั้น เราจึงควรบำเพ็ญต่อไป แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือพ่อมดทางคอมพิวเตอร์ หรืออะไรทำนองนี้ แต่ตราบใดที่เรานั่งสมาธิอย่างขยันขันแข็งเพื่อทำตัวเรา กลิ่นไอของเรา สภาพแวดล้อมของเราให้บริสุทธิ์ เราก็ได้ช่วยให้โลกมีความก้าวหน้าโดยทางอ้อม” นักบุญที่เป็นนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้อยู่ในโลกของเราแล้ว และช่วยเราให้เข้าสู่ยุคพลังงานใหม่ เรายังคงมีหนทางอันยาวไกลจากการบำเพ็ญในขณะนี้ของเรา ไปสู่เทคโนโลยีที่ควบคุมพลังงานโดยตรงจากบรรยากาศตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง กระนั้นก็ดี เทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถช่วยพัฒนาโลกได้ ถ้าคนของโลกมีมาตรฐานทางคุณธรรมที่สูงและมีจิตสำนึกทางวิญญาณที่สูง ในช่วงเวลานี้เราควรยกความคิดทางคุณธรรมของเราและทำการกระทำของเราให้บริสุทธิ์ “เราสามารถพยายามที่จะให้การศึกษาแก่ผู้คนได้ อย่างน้อยที่สุดให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์ ทำงานหนัก พึ่งพาตนเอง และค้นหาปัญญาของพวกเขา ดังนั้นไม่ว่างานเล็ก ๆ อะไรก็ตามที่พวกเขาทำ พวกเขาก็จะทำด้วยหัวใจ ด้วยความอุทิศตน และแม้ว่าพวกเขาไม่สามารถทำงานของพวกเขาได้ อย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็เป็นคนซื่อสัตย์ในสังคม พวกเขาไม่โกงคน พวกเขาไม่สร้างความเดือดร้อน พวกเขามีความอดทนและรับใช้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่สร้างความเดือดร้อน และพวกเขาก็ไม่มีความอิจฉาหรือ ยุยงคนให้ทำลายความสำเร็จของคนอื่นในทางวิทยาศาสตร์ หรือในสาขาอื่น ๆ ที่พวกเขาทำงานร่วมด้วย” (ปราศรัยโดยท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ มาเลเซีย 23 กุมภาพันธ์ 2535 ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) (บรรยายโดยท่านอนุตราจารย์ชิงไห่ มาเลเซีย 23 กุมภาพันธ์ 2535 ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) |