วิถีชีวิตยุคทอง

บ้านในฝัน
การพัฒนาซึ่งสนับสนุน
การดำรงชีพแบบค้ำจุนพลังงาน

โดยพี่ประทับจิตชายจอห์น ฮันเตอร์ ลอนดอน (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

 

โครงการที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์เป็นแห่งแรก ในลอนดอน เขตซัทตัน

ตามที่ได้บรรยายไว้ในบทความ “เจริญรุ่งเรืองในยุคทอง” (โปรดดูธรรมสารฉบับที่ 161) เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังได้รับการพัฒนา เพื่อสู้กับความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และการขาดแคลนน้ำ ประเทศอังกฤษเหมือนกับประเทศอื่น ๆ บางประเทศในโลก ก็เผชิญกับความท้าทายเพิ่มเติม ซึ่งเกิดขึ้นจากจำนวนประชากรที่สูงขึ้น ซึ่งอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการขาดแคลนที่ดินอย่างเรื้อรังสำหรับการสร้างบ้านใหม่ เพื่อเป็นการกล่าวถึงปัญหานี้ รัฐบาลอังกฤษในขณะนี้ได้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันในการใช้การพัฒนา “บราวน์ฟิลด์” ซึ่งจัดให้มีการก่อสร้างขึ้นใหม่จากผลของการรื้อหรือการปรับปรุงตึกที่มีอยู่ใหม่

การพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบใหม่ที่น่าสนใจพูดถึงประเด็นเนื้อที่มากกว่านั้น นักพัฒนาเรียกมันว่า BedZED (Beddington Zero [Fossil]) ซึ่งผสมผสานส่วนต่าง ๆ มากมายของการมีชีวิตแบบค้ำจุนด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบในอนาคตตามอุดมการณ์การพัฒนาBedZEDแห่งแรก ตั้งอยู่ที่ “บราวน์ฟิลด์”ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของลอนดอน ซึ่งได้ถูกออกแบบด้วยเป้าหมายให้มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ โดยการหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จจากการผสมผสานของเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงาน พร้อม ๆ กับการใช้ความร้อนที่มาจากเชื้อเพลิงที่เป็นไม้ และเครื่องทำไฟฟ้าเพื่อให้ไฟฟ้าและความร้อน ยิ่งไปกว่านั้น แผงพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ซึ่งติดตั้งอยู่บนหลังคาของตึกก็ให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับรถไฟฟ้า 40 คัน ซึ่งเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์ได้เพิ่มขึ้น

ในการก่อสร้างการพัฒนา ทีมของBedZEDได้พิจารณาที่จะใช้วัสดุก่อสร้างซึ่งหาได้ภายในรัศมี 15 ไมล์ของสถานที่ก่อสร้างด้วย ซึ่งเป็นการลด “พลังงานที่รวมกันเป็นรูปร่าง” ของวัสดุ “พลังงานที่ใช้ในการผลิต ขนส่ง และประกอบพวกมัน” อีกทั้งไม้ใหม่ ๆ ซึ่งใช้ในตึกก็ได้รับมาจากป่าที่ได้รับอนุญาตจาก WWF Forest Stewardship Council

ตึกสูง 3 ชั้นประกอบด้วยที่พักอาศัย 82 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องมีฉนวนชั้นเยี่ยม และการติดกระจกหน้าต่างที่หันไปทางทิศใต้ เพื่อให้ได้รับความร้อนในฤดูหนาว ระบบให้ความร้อนที่ซับซ้อนและการระบายอากาศก็ใช้ปล่องพลังลมที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา พร้อมกับแผ่นแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อนซึ่งดึงดูดและกระจายอากาศอุ่นเข้ามาใหม่

สำหรับส่วนที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย คือ บริเวณทำงานซึ่งอยู่ในที่ร่มของทิศใต้ ซึ่งหันไปสู่ระเบียงของบ้าน สวนที่มองเห็นท้องฟ้าได้ถูกสร้างบนหลังคาของเนื้อที่ทำงาน ซึ่งทำให้แฟลต 3 ชั้นแต่ละหลังมีสวนภายนอกของตัวเอง ซึ่งมีแสงสว่างส่องถึง ในขณะที่ให้เนื้อที่ทำงานซึ่งมีความสว่างในเวลากลางวัน โดยที่ไม่มีปัญหาจากความร้อนเกินไปในฤดูร้อน

ผังภาพวาดของการพัฒนา

ตึกที่เพิ่มเติมภายในโครงการพัฒนาบ้านของBedZED คือ การผสมผสานของความร้อนและเครื่องทำไฟฟ้า ห้องสวิทซ์ไฟฟ้าและห้องไฟฟ้าที่มีหลังคาเป็นกระจก ณ ที่ซึ่งเครื่องบำบัดน้ำบำบัดของเสียที่เป็นสีดำและสีเทา นอกจากนั้นก็มีการเก็บกักน้ำฝนและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดความจำเป็นสำหรับน้ำจากภายนอก อาคารนี้ยังมีศูนย์สุขภาพชุมชนด้วย มีเนิร์ซเซอรี่ และมีร้านกาแฟ พร้อมกับคลับเฮาส์กีฬาและออฟฟิศ

แนวคิดBedZEDได้รับการพัฒนามากว่า 5 ปีโดยทีมของสถาปนิก BioRegional Development Group และ Housing group ชุมชนนี้ออกแบบเพื่อรับคนประมาณ 240 คนและคนทำงาน 200 คน มีความสามารถในการรับวิถีชีวิตคาร์บอนที่เป็นกลาง ด้วยพลังงานทั้งหลายสำหรับอาคารต่าง ๆ และการขนส่งท้องถิ่นจากแหล่งพลังงานใหม่ สถานที่ “บราวน์ฟิลด์” อื่น ๆ ที่ถูกใช้ในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ สามารถลดการขยายของเมืองได้อย่างเด่นชัดในสหราชอาณาจักรและประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ยังคงให้ความสุข อย่างเช่น บริเวณที่เล่น สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน และเครื่องพักผ่อนหย่อนใจ และเนื้อที่ทำงานที่เพียงพอ ตัวอย่างของความคิดการใช้ชีวิตที่ก้าวหน้าเช่นนี้ ซึ่งได้กลายเป็นจริงขึ้นมาแล้ว มีโอกาสที่จะเป็นแรงบันดาลใจต่อไปอย่างแน่นอน สำหรับอาคารที่ค้ำจุนชีวิต

 

ข้อมูลอ้างอิง:
http:www.zedfactory.com www.bedzed.org.uk

 

* (ภาพที่นำมาลงได้จากหน้าเว็ปของโรงงาน zed)
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ๆ