อาจารย์เล่านิทาน
แต่ก่อนประเทศจีนมีแม่ทัพคนหนึ่ง ขณะที่เขาใกล้จะตาย พระราชาถามเขาว่า “เมื่อท่านตายไป ใครบ้างที่สามารถมาทำงานแทนท่านได้?” แม่ทัพคนนี้ไม่ได้เสนอลูกตัวเอง แต่กลับไปเสนออีกคนหนึ่ง พระราชาได้ยินแล้วประหลาดใจมาก ถามว่า “ลูกชายของท่านเรียนตำราพิชัยสงครามมาตั้งแต่เด็ก พูดถึงการทำสงครามคล่องแคล่วมาก เขาน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดมิใช่หรือ?” แม่ทัพตอบว่า “ไม่ ไม่ ! ลูกชายข้าพเจ้าได้แต่ท่องตำรา แม้เขาจะเข้าใจเรื่องทฤษฎีของพิชัยสงคราม แต่ไม่มีประสบการณ์ในสนามรบเลย ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ขอเสนอตัวเขา” ต่อมาแม่ทัพตายไปแล้ว พระราชาไม่ได้ฟังคำเสนอของเขา ยึดติดกับลูกชายของเขาเป็นคนเก่ง รู้จักทำสงครามได้เป็นอย่างดี สามารถตอบคำถามได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นจึงแต่งตั้งให้ลูกชายของเขาเป็นแม่ทัพ ในที่สุดลูกคนนี้แพ้สงครามทุกครั้ง ไม่เหมือนคุณพ่อของเขาที่ทำสงครามก็ชนะทุกครั้ง เพราะเขาไม่มีประสบการณ์ในสนามรบเลย เอาแต่ท่องตำราเท่านั้น ในสนามรบ เหตุการณ์ต่าง ๆ มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่อาศัยทฤษฎีที่ท่องได้ก็สามารถไปสู้ได้ และแต่ละสถานที่ก็มีพื้นที่ไม่เหมือนกัน ฮวงจุ้ยกับอากาศก็ต่างกัน ถ้าหากออกศึกทุกครั้งเอาแต่ใช้ทฤษฎีตามหนังสือ จะไหวหรือ? ยังมี ทุกครั้งกองทัพศัตรูก็ไม่เหมือนกัน และกองทัพของเราเอง กำลังใจและร่างกาย บางครั้งก็เปลี่ยนไปตามสถานที่และดินฟ้าอากาศ ดังนั้นจะมาวาดภาพไปตามเรื่องไม่ได้ ลูกชายแม่ทัพคนนี้ไปเคยติดตามพ่อไปออกศึก ไม่ได้ไปหาประสบการณ์ที่แท้จริงด้วยตนเอง ดังนั้นจึงชนะสงครามไม่ได้ พวกเราทำอะไรก็เหมือนกัน พวกเรายิ่งทำมาก ความสามารถในการตอบสนองก็ยิ่งดีขึ้น กลายเป็นการฝึกความเคยชินอย่างหนึ่งไปในตัว
|