สารคดีพิเศษ-เป็นเพื่อนและเติบโตไปกับบุตรของพระเจ้า

วิธีทำให้การบำเพ็ญก้าวหน้ามีอยู่วิธีเดียวเท่านั้น
- ทำงานพระเจ้าและร่วมนั่งสมาธิกลุ่ม

เขียนโดยเหมา เหมา ฉง ไทเป ฟอร์โมซา (ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)

ตั้งแต่ประทับจิตเมื่ออายุ 13 ปี จนครบ 12 ปีเต็มของการประทับจิต ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความเคยชินที่ข้าพเจ้ารู้สึกมีประโยชน์ที่สุดคือ การเข้าร่วมนั่งสมาธิกลุ่มที่ศูนย์ท้องถิ่นและที่ศูนย์ซีหู

จากชั้นประถมถึงชั้นมัธยมปลาย ข้าพเจ้าจดจำคำพูดของท่านอาจารย์เสมอ “แม้ต้องวางงานทางโลก 100 เรื่อง ก็ต้องไปร่วมนั่งสมาธิกลุ่ม” ดังนั้น ทุกอาทิตย์ข้าพเจ้าต้องไปนั่งสมาธิกลุ่มอย่างแน่นอน เมื่อขึ้นมหาวิทยาลัย การไปนั่งสมาธิกลุ่มที่ศูนย์กลายเป็นความเคยชินไป บ่อยครั้งที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ข้าพเจ้าจะขับรถจักรยานยนต์ไปนั่งสมาธิที่ศูนย์ ด้วยเหตุนี้ จึงมีโอกาสได้ทำงานพระเจ้า บางครั้งจะวางโครงการกับเพื่อนบำเพ็ญที่เป็นวัยเดียวกัน ตระเตรียมงาน บางครั้งก็ทำงานร่วมกับศิษย์พี่ชายที่มีอายุมากกว่า ทำงานเบ็ดเตล็ด ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกมีประสบการณ์ดี พอใจและเป็นสุข ศิษย์พี่ชายหญิงต่างมีจิตใจที่เสียสละเพื่อบริการ เป็นตัวอย่างที่ข้าพเจ้าคอยทำตามอยู่เสมอ ดังนั้นจากการทำงาน ข้าพเจ้าเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเติบโตขึ้นมาก

ก่อนไปเป็นทหารเกณฑ์ ข้าพเจ้าขอให้พระเจ้าให้พร ในระหว่างการเป็นทหารได้ทานเจบริสุทธิ์ และสามารถไปนั่งสมาธิกลุ่มด้วย ด้วยความกรุณาจากพระเจ้า ความหวังเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาทั้งหมด ดังนั้นระหว่างการเป็นทหาร เกือบทุกอาทิตย์ข้าพเจ้าได้ไปนั่งสมาธิกลุ่มที่ศูนย์ท้องถิ่นและที่ศูนย์ซีหู การสวดภาวนาด้วยความจริงใจจะได้รับการตอบสนองเสมอ!

ก่อนประทับจิตชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ จะพาเพื่อนนักเรียนในห้องไปเล่นด้วยกัน แต่หลังจากประทับจิตเมื่ออยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 แล้ว ข้าพเจ้าก็เลิกไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยสิ้นเชิง เพื่อนนักเรียนต่างรู้สึกประหลาดใจมาก ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นพลังจากธรรมวิถีกวนอินอย่างแน่นอน!

หลังประทับจิต ข้าพเจ้าเริ่มเขียนบันทึกประจำวันในการบำเพ็ญ ไม่ว่าจะมีงานมากเพียงใด จะต้องหาเวลาเขียนอย่างแน่นอน เพื่อเป็นการสำรวจตัวเองกับเวลาที่ผ่านมา และสำรวจจากมุมที่ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อเตือนตัวเองให้มีความคิดที่ดีและมีจิตใจที่ดีตลอดเวลา ขณะเดียวกันเป็นการฝึกให้มีการสังเกตที่ละเอียดยิ่งขึ้น สามารถช่วยในการทำงาน และการปฏิบัติตนด้วย! เป็นต้นว่า ขณะทำงานอยู่ที่ศูนย์ อาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความคิดเห็นต่างกันกับเพื่อนบำเพ็ญ บางครั้งก็ต่างถือทิฐิตัวเอง เถียงกันจนหน้าดำหน้าแดง เวลาเขียนบันทึกประจำวันในการบำเพ็ญ ก็จะต้องเพิ่มการสำรวจตัวเองมากขึ้น เพื่อเตือนตัวเองต่อไป ถ้าพบกับเหตุการณ์เช่นนี้อีก ต้องสงบสติอารมณ์ ให้เกียรติผู้อื่น จากการทำงานและเขียนบันทึกประจำวันในการบำเพ็ญ ข้าพเจ้ายิ่งเข้าใจคำพูดของท่านอาจารย์มากขึ้น: ความรักกับความจริงใจเป็นทางที่ดีที่สุดในการอยู่ร่วมกับคนอื่น

 

 <<
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ๆ