สร้างหมู่บ้านเมตตาและมังสวิรัติโลก

อินเดีย

 

ปลุกประชาชนประเทศที่มีวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณให้ตื่น เพื่อกลับสู่ชีวิตแห่งความรัก

รายงานโดยกลุ่มข่าวเถาหยวน ฟอร์โมซา (ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)

เพื่อจะนำความรักของพระเจ้าส่งไปทั่วทุกมุมโลก เพื่อนบำเพ็ญฟอร์โมซาวางโครงการจะไปอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่มีวัฒนธรรมตั้งแต่โบราณมา เพื่อแบ่งปันข่าวสารของพระเจ้า…”ทางเลือกใหม่ในการดำรงชีวิต” ให้กับพี่น้องในพื้นที่อินเดีย ที่มีประชากร 1,000 ล้าน และมีภาษาร่วม 100 ภาษา เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นที่ 2 ของโลก ทั้งมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับจิตวิญญาณมากมายหลากหลาย

เพื่อนบำเพ็ญฟอร์โมซาจำนวน 22 คน เดินทางไปถึงสนามบินเดลี ตอนดึกในคืนวันที่ 19 เมษายน ปีทองที่ 3 (2549) ได้รับการต้อนรับจากเพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่อย่างอบอุ่น นอกจากนี้ มีเพื่อนบำเพ็ญจากเยอรมันมาร่วมงานแจกแผ่นปลิวในครั้งนี้ด้วย ก่อนจะเดินทางพวกเราได้ติดต่อกับเพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่ วางโครงการทั้งหมด และกำหนดสถานที่ที่จะไปแจกแผ่นปลิวด้วย ประกอบด้วยเดลีทางเหนือและบอมเบย์ทางตะวันตก

ไปที่เดลีด้วยความอาจหาญ .

เดลี เป็นเมืองหลวงที่มีประชากรหนาแน่นของอินเดีย เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการแจกแผ่นปลิวที่สุด ช่วงเช้าวันที่ 20 เมษายน พวกเรานั่งสมาธิกลุ่มกับเพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่แล้ว จากการปรึกษาจัดเดลี ออกเป็น ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งหมด 3 เขตเมือง จุดสำคัญอยู่ที่สนามบิน โรงเรียน ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า ท่ารถ ชุมชนหนาแน่น ธนาคาร ถนนใหญ่ เขตชุมชน สถานที่ค้าขายที่มีผู้คนคับคั่น ทำการแจกแผ่นปลิวที่พิมพ์ภาษาอินเดียและภาษาอังกฤษเป็นครั้งใหญ่

ชาวอินเดียที่เรียบง่าย สำหรับคนนอกพื้นที่มาเตือนให้พวกเขาทานเจ การตอบสนองรู้สึกประหลาดใจมาก! รับแผ่นปลิวตาโต หันมาพยักหน้าขอบคุณเพื่อนบำเพ็ญตลอดเวลา ระหว่างแจกแผ่นปลิวมีผู้คนมาขอแผ่นปลิว มีผู้ทานเจในพื้นที่มากมายให้การสนับสนุนและให้กำลังใจกับการทำงานของพวกเรา โดยเฉพาะในสวนคาณธี พบกับคนทานมังสวิรัติเดินมาทักทาย เมื่อทราบว่าพวกเรามาจากฟอร์โมซาที่แสนไกล ต่างชมเชยคณะของพวกเรา และได้วิเคราะห์ปัญหาการบำเพ็ญกับเพื่อนบำเพ็ญ และอยากจะพบกับพวกเราอีก พี่สตรีในพื้นที่เห็นการทำงานด้วยความรัก มาสวมกอด จูบศิษย์พี่หญิงที่กำลังแจกแผ่นปลิว ทั้งมองศิษย์พี่หญิงด้วยสายตาที่ซาบซึ้งอย่างยิ่ง เนื่องจากภาษาที่ต่างกัน อยากจะพูดด้วยก็พูดไม่ได้ สุดท้ายก็พูดคำสั้น ๆ ว่า “ฉันรักเธอ!” แล้วเดินจากไปช้า ๆ

เนื่องจากคนในพื้นที่ให้การตอบสนองต่อแผ่นปลิวดีมาก วันแรกก็แจกไปประมาณ 40,000 แผ่น เพื่อนบำเพ็ญที่เต็มไปด้วยความรักได้รับการตอบรับอย่างคึกคัก ในใจได้รับกำลังใจอย่างยิ่ง และได้ติดต่อกับเพื่อนบำเพ็ญบอมเบย์จัดพิมพ์แผ่นปลิวอีก 40,000 แผ่น


ความรักเบ่งบานที่บอมเบย์ .

บอมเบย์ ถูกเรียกว่าเป็น “ประตูทางทิศตะวันตก” ของอินเดีย เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสายคมนาคมที่สำคัญของอินเดีย เป็นเมืองใหญ่ที่พลาดการแจกแผ่นปลิวไม่ได้ทีเดียว พวกเราเดินทางไปถึงเป็นเวลากลางดึกของวันที่ 21 เมษายน วันรุ่งขึ้นจากการช่วยเหลือของเพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่ เรื่องมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้น พวกเราได้พบกับโรงแรมอาหารมังสวิรัติที่ใหม่เอี่ยมที่ยังไม่ได้เปิดทำการ เจ้าของโรงแรมบอกว่า ในอนาคตโรงแรมแห่งนี้จะต้อนรับแต่คนทานมังสวิรัติเท่านั้น เมื่อทราบว่าพวกเราเดินทางไกลมาจากฟอร์โมซา เพื่อมาเผยแพร่อาหารมังสวิรัติที่นี่ เขาดีใจมากและให้การต้อนรับพวกเราเป็นพิเศษและเป็นกันเอง เมื่อมีสถานที่ที่สงบสะอาดสำหรับสะสมกำลังแล้ว เพื่อนบำเพ็ญต่างขอบคุณการจัดการของพระเจ้า

ถนนต่าง ๆ ในบอมเบย์ เพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่ 3 คนเป็นผู้วางโครงการให้อย่างละเอียด ทุกครั้งก่อนออกเดินทาง พวกเขาจะอธิบายให้ทราบ จึงจะพาพวกเราแบ่งกลุ่มทำงาน พวกเราไปทั่วทุกที่ของบอมเบย์ที่มีผู้คนมากมาย เพื่อแจกแผ่นปลิว พอกลับมาค่อยมาประชุมกัน เพื่อวิเคราะห์จุดบกพร่องในวันนั้น จะได้แก้ไขในวันต่อไป

วันแรกที่ไปแจกแผ่นปลิวที่บอมเบย์ พวกเราทีประสบการณ์เรื่องเล็ก ๆ ที่ยากจะลืมได้เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟบันดรา เมื่อขบวนรถไฟมาถึง ผู้คนมากมายส่งเสียงดังจอแจ พวกเราถือโอกาสแจกแผ่นปลิว ทันใดนั้นหัวหน้าสถานีหน้าตาเคร่งเครียดสอบถามพวกเราทำอะไรอยู่ และจะเรียกพวกเราออกไป แต่จากการอธิบายของเพื่อนบำเพ็ญอย่างละเอียด เขาพูดกับพวกเราอย่างเป็นกันเองทันทีว่า “ที่แท้ฟอร์โมซา เป็นประเทศที่มีความรักถึงขนาดนี้ ขณะนี้ที่อินเดียกำลังสูญเสียการดำรงชีวิตแบบจิตวิญญาณไป และต้องการมีคนออกมาเตือนทุกคน!”

บอมเบย์ มีคนทานมังสวิรัติมากกว่าที่พวกเราคาดไว้ พวกเรามักจะได้รับการชมเชยจากบุคคลในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษาที่ต่างกัน สื่อสารกันไม่ได้ พวกเราจึงได้แต่พยักหน้า อมยิ้ม พนมมือสื่อสารกัน ขณะที่เพื่อนบำเพ็ญไปยังตลาดที่สืบทอดตามประเพณีและตามตลาดนัดต่าง ๆ ดีใจที่เห็นแผงขายเนื้อสัตว์น้อยมาก ส่วนมากจะขายแต่ผักผลไม้เครื่องเทศต่าง ๆ

ระหว่างเวลาว่างจากการแจกแผ่นปลิว เพื่อนบำเพ็ญช่วยกันคิดวิธีเผยแพร่: นำเอาภาพโปสเตอร์ใหญ่มาติดไว้ที่ตัวเพื่อเป็นกระดานเคลื่อนที่ ผู้คนจะได้เดินเข้ามาดู หรือหัดพูดคำพูดทักทายในพื้นที่สัก 2-3 คำ เช่น สวัสดี อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ ขอบคุณ ต่าง ๆ เป็นต้น คนในพื้นที่จะถูกคำพูดของพวกเราดึงดูดไว้ ทำให้ประสบผลสำเร็จในการเผยแพร่ คนขับรถได้รับผลจากการทำงานและบุคลิกของพวกเรา เมื่อจอดรถแล้ว เข้ามาช่วยจัดตั้งภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่เอง พร้อมหยิบแผ่นปลิวมาช่วยแจกตลอดทาง ทุกคนอยู่กับบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรัก แจกแผ่นปลิวจำนวน 60,000 แผ่นไปจนหมดในทุกย่างก้าวที่บอมเบย์

บทสรุป: การที่สามารถแจกแผ่นปลิวไปเป็นจำนวน 110,000 แผ่นได้ภายในเวลา 5 วันอย่างราบรื่น เพื่อนบำเพ็ญต่างกล่าวเหมือนนัดกันว่า ตลอดทางเหมือนมีพลังมหัศจรรย์คอยให้ความคุ้มครองพวกเราอยู่ตลอดเวลา ในระหว่างการทำงาน แม้จะเลยเวลาอาหารไปแล้ว แต่ก็ทานอาหารวันละมื้อเดียว แต่เพียงขอมีแผ่นปลิวอยู่ที่มือ ก็จะรู้สึกมีจิตใจที่คึกคักขึ้นมาทันที พลังเต็มไปทั้งตัว เหล่านี้ล้วนต้องขอขอบคุณการให้พรจากพลังของพระเจ้า

ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ๆ

มนุษย์ทำอะไรได้ เพื่อจัดการกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ? เพื่อเอาใจใส่ปัญหานี้และช่วยชีวิตสัตว์คณานับ ท่านอาจารย์จึงได้รวบรวมบทความสั้น ๆ ที่สมบูรณ์ด้วยภาพแทรกอันมีสีสันด้วยตัวเองที่มีชื่อว่า “การดำรงชีวิตที่เลือกได้” โดยให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทางเลือกแบบมังสวิรัติต่ออาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นหลัก และรายชื่อของ “นักมังสวิรัติและผู้ทรงเกียรติที่รับประทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดของโลก”
เชิญแวะชมที่ http://AL.Godsdirectcontact.org.tw รายละเอียดจะจัดพิมพ์เป็นหลายภาษาแจกจ่ายต่อไป ขอเชิญนำไปส่งต่อ จัดทำใหม่ พิมพ์ใหม่ หรือตั้งอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับแหล่งของใบปลิว