วิถีชีวิตในยุคทอง

ทะเลทรายที่แปลสภาพเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต

โดยพี่ประทับจิตชายแมตทิว เซอร์ปิส ทัสมาเนีย ออสเตรเลีย (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

จากการมองแวบแรก ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้ในการที่จะเปลี่ยนผืนดินที่แห้งและเค็มที่สุดมาเป็นที่ที่ใช้งานได้ แต่ชาวออสเตรเลีย จ๊อฟ ลอว์ตัน ที่ปรึกษาเกษตรกรรมระบบนิเวศน์แบบยั่งยืน (permaculture) คิดในทางตรงกันข้ามกับที่ดินแอ่งกระทะตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนของจอร์แดนกับอิสราเอล ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 400 เมตร และอยู่ห่างเพียง 2 กิโลเมตรจากทะเลสาปเดดซี (DeadSea) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่เค็มที่สุดในโลก ผืนดินนี้จัดอยู่ในพวกที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ที่สุดในโลก ซึ่งในฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส(122 องศาฟาเรนไฮต์)และไม่มีน้ำ การเกษตรกรรมที่ทำกันในขณะนั้นเป็นการปลูกพืชภายใต้พลาสติกและใช้ปุ๋ยเคมี

คุณลอว์ตันได้รับมอบหมายโครงการนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของญี่ปุ่น ทำงานร่วมกับหน่วยงานของจอร์แดน มีเป้าหมายสาธิตการทำไร่แบบยั่งยืน คุณลอว์ตันและผู้ร่วมงานซินดราวางแผนงานของโครงการ โดยเริ่มจากการสอนเทคนิคเกษตรกรรมระบบนิเวศน์แบบยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น สืบเนื่องจากการต้องเคารพธรรมเนียมพื้นฐานของมุสลิม ซินดราสอนผู้หญิงและลอว์ตันสอนผู้ชาย

เริ่มต้นขุดคูดินยาว 1.5 กิโลเมตร ไปตามลักษณะผิวดินและหินแข็งที่อยู่ใต้ดิน ทำเช่นนี้เพื่อเก็บน้ำและป้องกันไม่ให้มันซึมลงใต้ดิน หลังจากนั้นปกคลุมริมคูดินด้วยกองใบไม้ใบหญ้าและวัสดุพืชเหลือใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกเผาให้สูญเสียไป โดยชาวนาในจอร์แดน บริเวณบนสุดของกองใบไม้ใบหญ้า ปลูกต้นไม้ทะเลทรายซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการจับไนโตรเจน และส่วนที่ต่ำลงมาก็จะปลูกไม้ผล เช่น ต้นอินทผลัม ต้นมะเดื่อ (ไม้จำพวกไทรและกร่าง มีผลคล้ายผลแพร์) ต้นทับทิม เป็นต้น เขายังใส่ใบไม้ใบหญ้าและวัสดุพืชลงไปในคูดิน และติดตั้งระบบน้ำหยดใต้กองใบไม้ใบหญ้าเพื่อลดการระเหยไปของน้ำ

ภายใต้ความประหลาดใจของคนท้องถิ่น และหน่วยงานเกษตรอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงทีละขั้น ค่อยๆ เกิดขึ้น ภายในหนึ่งปี ต้นมะเดื่อสูงหนึ่งเมตร และเริ่มออกผล ซึ่งไม่น่าเชื่อสำหรับคนในพื้นที่ ไม้ผลชนิดอื่นก็เจริญเติบโตดี ส่วนล่างสุดของคูดินก็มีเห็ดผุดออกมาจากความชุ่มชื้น ดินก็เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต สิ่งอัศจรรย์อีกอย่างก็คือ ระดับความเค็มของดินก็ลดลงด้วย แม้ว่าน้ำที่ใช้มีความเค็มอยู่มาก ผลการตรวจสอบดินเปิดเผยว่า สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เติบโตภายใต้ส่วนผสมของสารอินทรีย์ที่อุดม ได้สร้างวัสดุที่คล้ายขี้ผึ้งซึ่งแปรสภาพเกลือเป็นสิ่งที่ไม่มีีปฏิกริยาโต้ตอบ จึงไม่อาจทำร้ายต้นไม้ได้อีก

ผลของโครงการนี้ได้สร้างชีวิตสวรรค์แก่แผ่นดินที่แห้งแล้งที่สุดบนโลก การเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ แสดงให้เราเห็นว่า ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ หากเราทำงานโดยร่วมมือกับสิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา และสิ่งอัศจรรย์ก็จะเกิดกับทุกคนที่มีความพยายาม เมื่อเราเริ่มต้นหนึ่งก้าวเดินสู่สวรรค์ สวรรค์จะเสริมให้เราอีก 100 ก้าว

ภายใต้ยุคทองจะมีสิ่งดีๆ มอบให้มนุษยชาติบนโลกตั้งแต่บัดนี้และตลอดไป

ข้อมูลอ้างอิง
http://207.21.197.146/per/permaculture.swf
http://www.permaculture.org.au
http://permaculture.org.au/?page_id=12

 

ทะเลทราย ความคิดเมื่อก่อน เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้เพาะปลูก
การกักน้ำในคูดิน หัวใจของโครงการเพาะปลูกเกษตรกรรมระบบนิเวศน์แบบยั่งยืน
ต้นไม้ที่ให้ผลและต้นไม้ทะเลทรายที่จับไนโตรเจนซึ่งปลูกไปตามคูดินที่คลุมด้วยใบไม้ใบหญ้า
อัศจรรย์ของไม้ผลที่สามารถเติบโตภายหลังหนึ่งปี
จุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์และเห็ดที่เติบโตในคูดิน
สวนดีโดยการเพาะปลูกด้วยการคลุมดินด้วยเศษใบไม้ใบหญ้า