เทคโนโลยี่ยุคทอง

ยานพาหนะที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง ปรากฏบนท้องถนน

โดยกลุ่มข่าวดิสเบอร์ก (ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน)

ระบบการขนส่งมวลชนภายในเมืองของเบอร์ลิน ที่รู้จักกันคือ BVG ได้ออกตัวครั้งแรกต่อชาวโลกด้วยรถโดยสารที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว ในเว็บไซต์ของพวกเขากล่าวว่า รถบัสนี้เป็นไปตามมาตรฐานส่วนหนึ่งของกระบวนรถยนต์ของ BVG ที่ดำเนินงานอยู่ภายในตัวเมือง เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลวนี้แสดงถึงแนวโน้มทางนิเวศวิทยาในอนาคต มันไม่มีควันไอเสียและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตก็มีมากไม่จำกัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล[1]

หลักการพื้นฐานของเซลล์เชื้อเพลิงนี้ถูกนำกลับมาใหม่หลังจากหายไปนานกว่าที่คาดคิดได้ มันได้รับการพัฒนาในปี 2373 โดยเซอร์ วิลเลี่ยม โรเบิร์ต โกรฟ (2354-2439) ปฏิกิริยาทางเคมีที่แอบแฝงจะเปลี่ยนไฮโดรเจนและอ็อกซิเจนให้เป็นน้ำ ภายในเซลล์เชื้อเพลิง พลังงานทางเคมีของเชื้อเพลิงนี้จะถูกเปลี่ยนสภาพโดยตรงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าระดับเฉลี่ย (สูงถึง 83%)[2] เซอร์ วิลเลี่ยม โรเบิร์ต โกรฟ ได้ค้นพบหลักการนี้ขณะที่เขากำลังทดลองการเปลี่ยนสภาพจากน้ำไปเป็นไฮโดรเจนและอ็อกซิเจน โดยวิธีแยกวัตถุเหลวด้วยกระแสไฟฟ้า(การแยกส่วนผสมทางเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า)[3]เขาสังเกตุว่ากระบวนการนี้สามารถย้อนกลับได้[4] ปัญหาที่มีมาตลอดถึงปัจจุบันก็คือวัตถุดิบที่จำเป็น ยกตัวอย่าง ทองคำขาวถูกใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา(สสารที่เพิ่มอัตราของปฏิกิริยาทางเคมีโดยที่ตัวมันเองไม่เปลี่ยนสภาพแต่อย่างใด)[5]ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้พบว่าเป็นประโยชน์ในการเดินทางในอวกาศ และวัตถุที่ต้านทานการเป็นสนิมก็ได้รับการพัฒนา มันได้รับความสนใจมากกว่าเมื่อก่อน ในฐานะที่เป็นสุดยอดของเชื้อเพลิงที่ใส่ใจและเป็นเพื่อนกับสิ่งแวดล้อม รถโดยสารของเบอร์ลินคันนี้นับเป็นตัวอย่างหนึ่ง

1 http://www.bvg.de/index.php/de/Bvg/Detail/folder/335/
id/509/nb/1/name/Neue+Technologien+bei+der+BVG

2 http://www.hycar.de/
3 http://de.wikipedia.org/wiki/Elektrolyse
4 http://www.diebrennstoffzelle.de/zelltypen/geschichte/index.shtml
5 http://de.wikipedia.org/wiki/Katalysator