ยุคมังสวิรัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

อิสลาม และ ระบอบมังสวิรัติ

โดยพี่ประทับจิตชายซาเมอร์ อีลาหิ อังกฤษ (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

บิสมิลลาห์-เฮอร์ ราห์มาน-เนอร์ ราฮิม
(ในนามของพระเจ้า มีเมตตาและกรุณา)

จากการตรวจสอบให้ลึกลงไปในคำสอนอิสลามชุดหนึ่งเปิดเผยให้เห็นว่าอิสลามเป็นศาสนาที่มีความเมตตาสูง โดยเฉพาะเกี่ยวกับสวัสดิการของสัตว์ ในจุดที่ว่าอิสลามไม่ได้ห้ามการทานมังสวิรัติ มีข้อควรแก่การสังเกตุว่าเวลานี้ประเทศอิสลามหลายประเทศกำลังตื่นตัวขึ้นมารับผลประโยชน์ของการทานมังสวิรัติ เห็นได้ว่าระบอบมังสวิรัติใด้รับการสนับสนุนโดยผู้ที่เชื่อถืออิสลาม ดังตัวอย่างพื้นฐานที่เป็นประเทศอิสลามอย่างอิหร่านก็เป็นที่มาของอิหร่านเนี้ยน เวเจททาเรียน โซไซตี้(สมาคมมังสวิรัติชาวอิหร่าน) ซึ่งมีความไหวตัวมากในการส่งเสริมผลประโยชน์ของการทานมังสวิรัติอย่างแท้จริงในโลกสมัยใหม่ของพวกอิสลาม คือเพื่อสุขภาพและความอยู่ดีของสัตว์ ในปี2538 มีสมาคมมังสวิรัติ/วีเก้นมุสลิม ตั้งขึ้นในประเทศอังกฤษ เพื่อส่งเสริมระบอบมังสวิรัติตามคำสอนของโกหร่านและแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจและความเมตตาต่อสัตว์เป็นการอธิบายถึงคุณความดีของศาสนาอิสลาม

คำภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิและความเมตตาต่อสัตว์

 

หลายหลายบทในคำภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สัทธิกล่าวอ้างถึงความน่านับถือของชีวิตสัตว์และสิทธิเทียบเท่าโดยชอบของสัตว์ที่จะมีชีวิตสันติสุข แสวงหาพระเจ้าและพัฒนาให้เข้าถึงจิตสำนึกอย่างพระเจ้าเช่นเดียวกับมนุษย์ที่อยู่บนดาวเคราะห์

"ไม่มีสัตว์ตัวใดที่อยู่ในโลก และไม่มีสิ่งมีชีวิตที่บินด้วยปีกของมัน ล้วนแต่เป็นส่วนของสังคมเช่นเดียวกับคุณ ไม่มีเลยที่เราจะตัดออกจากหนังสือนี้ และพวกเขาทั้งหมดจะมารวมอยู่กับพระเจ้าของพวกเขาในที่สุด" (สูรา6.38)

"ไม่ใช่พระอัลลาห์หรือที่มีความชื่นชมสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในสวรรค์และบนโลกให้การสรรเสริญและนก(ในอากาศ)กางปีกกว้าง แต่ละสรรพสิ่งรู้ในส่วนภาวนาและสรรเสริญของตัวเองและพระอัลลาห์รู้ดีในทุกสิ่งที่พวกเขาทำ" (สูรา24.41)

สัตว์สร้างชุมชนในขณะเดียวกันพวกเขาให้การบริการมวลมนุษย์ ไม่มีทางที่คำภีร์โกหร่านอันศักดิ์สิทธิแนะนำว่าเราควรจะเป็นผู้ประหารชีวิตพวกเขา

"เราสร้างสัตว์เป็นบริวารของเธอที่เธอน่าจะยินดีต้อนรับ (สูรา22.36)

เขาเป็นผู้ตั้งเธอเป็นผู้รับมรดกในโลก"(สูรา35.39)

คำภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิเน้นว่าสัตว์และมนุษย์มีส่วนเท่าเท่ากันในทรัพยากรณ์ของโลก (ดูที่สูรา25.48-49 32.27 79.31-33) บอกด้วยว่าในสายตาของพระเจ้าพวกเขาเท่าเทียมกับมนุษย์ และพระองค์สื่อสารกับพวกเขาแบบเดียวกับที่พระองค์สื่อสารกับมนุษย์

"และพระเจ้าของเธอแสดงตัวต่อผึ้ง โดยพูดว่า 'สร้างรังผึ้งบนภูเขาและในต้นไม้ และในที่อยู่อาศัยของคน' "(สูรา 16.68)

คำภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิใช้คำภาษาอาหรับคำเดียวกัน "วาหิ(Wahi)" ในการแสดงตนต่อผู้สืบคำสอนของพระองค์รวมทั้งศาสดาโมฮัมเมดผู้ศักดิ์สิทธิ (พีบูห์4)รูปแบบของการกล่าวยังได้ใช้ในกรณีของผึ้ง ชี้ให้เห็นว่าสัตว์มีพลังจิตเป็นพรสวรรค์ระดับสูงพอที่จะเข้าใจและทำตามข่าวสารของพระเจ้า

มากไปกว่านั้นมีหลายช่วงตอนในคำภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิ์เน้นถึงการใช้ผลไม้และผักเพื่อยังชีพทั้งมนุษย์และสัตว์เหมือนกัน (สูรา 6.141, 6.151, 16.67, สูรา 23.19)เช่นเดียวกับการส่งเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับมุสลิม

ฮาดิท-คำสอนเกี่ยวกับชีวิตของศาสดาและนักบุญที่เป็นมุสลิม

 

ฮาดีท (หมายถึง"สิ่งที่ปฏิบัติกันมา") ในอิสลามอ้างถึงคำสอนที่ถูกบันทึกไว้ของศาสดาโมฮัมเมด ฮาดิทเป็นการสอนที่รู้จักกันในวัฒนธรรมอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของศาสนศาสตร์ของอิสลาม

คำภีร์ฮาดิทหลายตอนจากชีวิตของศาสดาโมฮัมเมดเช่นเดียวกับนักบุญมุสลิมอื่นอื่นนำความเมตตาและกรุณามากมายไปสู่สัตว์ และแนะนำว่าหน้าที่พื้นฐานของมุสลิมทั้งหลายคือให้การดูแลเพื่อความอยู่ดีของสัตว์ ศาสดานั้นยังได้เน้นถึงความสำคัญและผลกระทบของการทานอาหารพื้นฐานผัก ยังได้ห้ามการใช้หนังสัตว์

"อย่ายอมให้กระเพาะของเธอกลายเป็นหลุมฝังศพ"

สิ่งดีที่กระทำต่อสัตว์เป็นบุญกุศลเช่นเดียวกับสิ่งดีที่กระทำต่อมนุษย์ ในขณะที่แสดงความโหดร้ายต่อสัตว์ก็มีความเลวร้ายเช่นเดียวกับความโหดร้ายต่อมนุษย์

"สัตว์โลกทั้งหมดเป็นเหมือนครอบครัวหนึ่ง (อายาล) ของพระเจ้า และพระองค์รักมากที่สุดในผู้ที่ทำคุณประโยชน์มากที่สุดต่อครอบครัวของพระองค์"

"คนที่ให้ความสงสารแม้แต่นกกระจอกและช่วยชีวิตของมัน อัลลาห์จะให้ความเมตตาต่อผู้นั้นในวันตัดสิน"

"อัลลาห์จะไม่ให้ความเมตตาต่อผู้ใด นอกจากเขาเหล่านั้นให้ความเมตตาต่อสัตว์โลกอื่น

ที่ใดที่มีผักจำนวนมากมาก เหล่าเทวดานางฟ้าจะลงมาสู่สถานที่นั้น"

สูฟิส์(ผู้บำเพ็ญมุสลิมที่ได้รับคำสอนลึกลับ) จำนวนมากกล่าวยืนยันว่าระบอบมังสวิรัติมีความคล้องจองอย่างสมบูรณ์กับคำสอนและกฏระเบียบของอิสลาม สูฟิ คาดิริ แชคห์ อับดูล คาริม จิลิ ออกความเห็นในคำแนะนำของอิบน์ อะราบิที่ให้หลีกเลี่ยงมันสัตว์ในช่วงเข้าฌาณ ระบุว่า "มันสัตว์เพิ่มกำลังความเป็นสัตว์ และความสำคัญของมันจะอยู่เหนือความสำคัญทางจิตวิญญาน"

คล้ายกันกับจิชติ สูฟิ อินายาท คาน ผู้นำกฏหลักสูฟิเข้ามาในยุโรปและอเมริกาในต้นศตวรรษ1900 สังเกตุว่าระบอบมังสวิรัติส่งเสริมความเมตตาและการไม่เบียดเบียนสัตว์มีชีวิต และการกินมังสวิรัติช่วยให้ร่างกายบริสุทธิ์และมีความละเอียดในความสามารถทางจิตวิญญาน

บาวา มูไห่ยาดดีน ครูผู้สอนซูฟิ คาดิริ ชาวศรีลังกาในศตวรรษใกล้ใกล้นี้ก็สนับสนุนระบอบมังสวิรัติด้วยการกล่าวว่าความอวดดีและอารมย์โกรธอาจจะลดลงถ้าผู้ใดขจัดเนื้อสัตว์ออกจากอาหารที่บริโภค เขาสอนว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ส่งเสริมการพัฒนาคุณสมบัติความเป็นสัตว์ ในขณะที่การบริโภคพืชและผลิตภัณท์นมส่งเสริมคุณสมบัติด้านความสงบสุข และเขาบันทึกไว้ว่ากฏของอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์มีผลต่อการลดจำนวนสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหาร ถ้าศึกษาจริงจัง จากสิ่งนี้และหลักการของเควร์บานิ (บูชายัญสัตว์)ในอิสลาม ที่บาวาพูดว่า

"มีครั้งหนึ่งที่ราซัลของอัลลาห์พูดกับลูกพี่ลูกน้องของเขา อาลี โอ้ อาลี เธอไม่ควรกินเนื้อสัตว์ ถ้าเธอกินเนื้อสัตว์เป็นเวลา40วันคุณสมบัติของพวกนั้นจะเข้ามาอยู่ในตัวเธอ เป็นเพราะอย่างนี้แหละ คุณสมบัติความเป็นคนของเธอจะเปลี่ยน คุณสมบัติความเมตตาของเธอจะเปลี่ยนและจิตเดิมแท้ของร่างกายเธอจะเปลี่ยน"?

"ในช่วงเวลานั้น อาหรับเคยชินกับการมีวัว อูฐ แพะ น้ำมันสัตว์ อินทผลัม แป้งสาลี และสิ่งทั้งหมดนี้ พวกเขาไม่มีผักหรือแกง เวลานั้นเป็นเวลาที่กินเนื้อ เมื่อโมฮัมเมดที่เป็นราซัลมา เขาไม่อาจหยุดพวกเขาจากการกินเนื้อโดยสิ้นเชิง เพราะว่ามีแต่สิ่งนี้เป็นอาหารของพวกเขา เขาไม่อาจบอกพวกนั้นให้อย่ากินเนื้อ เพราะว่าพวกนั้นคงจะฆ่าเขา ดังนั้นเขาจึงบอกพวกเขาอย่างช้าช้าและอธิบายให้พวกนั้นฟังทีละนิด"

เคอร์แบนหรือคำบัญญัติที่กล่าวไว้ เมื่อเกิดการฆ่าสัตว์เพื่อทำพิธี คาลีมาที่สามได้ถูกส่งลงมาเพื่อหยุดการฆาตกรรมนี้ด้วย และคล้ายกันนี้ ความแตกต่างระหว่างฮาราม(ไม่อนุญาติ) และฮาเลา(อนุญาติ)ได้ถูกตั้งขึ้น ผู้สืบทอดคำสอนของพระเจ้าทั้งหมดมาเพื่อที่จะค่อยค่อยแก้ไขผู้คนให้ค่อยค่อยลดจำนวนของการเข่นฆ่า ให้ลดการกระทำที่ขัดต่อบัญญัติของพระเจ้าและค่อยค่อยลดความอวดดี ค่อยเป็นค่อยไป สิ่งเหล่านี้ก็จะลดลง

ศตวรรษที่15คำบทกวีซูฟิ คาเบอร์ ซาฮิบ ประนามการกินเนื้ออย่างชัดเจน ให้สัญลักษณ์ว่ามันเป็นความล้มเหลวที่สุดของความเมตตา เขาระบุว่าแม้แต่การอยู่ร่วมกับผู้กินเนื้อก็เป็นผลร้ายต่อวิญญาณ เขาเน้นว่าแทนที่จะฆ่าสัตว์เราน่าจะฆ่าอารมย์รุนแรงทั้งห้า คือความหื่นกระหาย ความโลภ ความยึดมั่น ความโกรธ ความหลงตัว

โอ้ มุสลิม ฉันเห็นเธออดอาหารตอนกลางวัน

แต่เพื่อการหยุดอดอาหารของเธอ เธอฆ่าวัวในตอนกลางคืน

ปลายข้างหนึ่งคือการเสียสละ แต่อีกข้างหนึ่งฆ่า

พระเจ้าจะยินดีได้อย่างไร

เพื่อนเอ๋ย อธิษฐาน ตัดคอความโกรธเกลียด

และการเข่นฆ่า การทำลายล้างของความโกรธเกลียดอย่างตาบอด

สำหรับผู้ที่เข่นฆ่าอารมย์รุนแรงทั้งห้า

ความหื่นกระหาย ความโกรธ ความโลภ ความยึดมั่น และความหลงตัว

จะได้พบเห็นพระเจ้าสูงสุดตัวต่อตัวอย่างแน่นอน

(จาก "การกินเนื้อ" ตัดตอนจากคาเบอร์ เดอ เกรท มิสทิก)

คำพูดปิดท้าย

 

การสอนจากคัมภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิ์และเช่นเดียวกับศาสดาโมเฮมเมดและนักบุญอื่นอื่นของมุสลิม มีความชัดเจนว่าอิสลามถือว่าความเมตตาต่อสัตว์เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ งานวิจัยเมื่อเร็วเร็วนี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติ การบูชายัญด้วยสัตว์ในบางพิธีการของอิสลามไม่แนะนำให้ทำอีก จากความเห็นอกเห็นใจต่อความทุกข์ของสัตว์รวมทั้งความเอาใจใส่สุขภาพมนุษย์ คัมภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิ์บ่งชัดเจนว่าการกระทำบูชาเป็นสัญลักษณ์แสดงออกของความมีน้ำใจและการให้ทานของมนุษย์ และการฆ่าสัตว์และการเสนอให้เนื้อของพวกมันไม่มีทางที่จะให้ความรอดใดใดแก่มนุษย์

เนื้อของพวกมันและเลือดของพวกมันไม่ไปถึงอัลลาห์ แต่การอุทิศจากเธอไปถึงพระองค์ ดั่งที่เราได้สร้างพวกมันให้เป็นบริวารของเธอที่เธออาจจะมองอัลลาห์ได้ชัดชัดว่าพระองค์นำทางเธอ และให้ข่าวดีที่ไปสู่ความดี" (สูรา22.37)

การตื่นขึ้นมาของความรู้สึกตัวที่สูงขึ้นบ่งชี้เรื่องนี้ นักค้นคว้ามุสลิมบางคนแนะนำว่าวันที่มุสลิมจะทดแทนสิ่งอื่นในการให้ทานแทนที่จะเป็นพิธีบูชายัญสัตว์จะมาถึงวันหนึ่ง

บทความสั้น ๆ นี้แสดงว่าทั้งทั้งที่ความเชื่อและการปฏิบัติทั่วไปโดยมุสลิมหลายหลายคน ความเชื่อและคำสอนของอิสลามให้การยอมรับอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ชีวิตสัตว์ อิสลามไม่เคยมีความประสงค์ว่ามนุษย์จะฆ่าสัตว์เพื่อกินเนื้อของพวกมัน คัมภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิ์และนักบุญมุสลิมหลายคนเน้นผลประโยชน์ของการไม่มีเนื้อสัตว์ อาหารพื้นฐานผัก และผลกระทบของมันต่อชีวิตมนุษย์เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของสัตว์และพืชต่อสิ่งแวดล้อมของดาวเคราะห์โลก ผู้อ่านที่มีความสนใจขอสนับสนุนให้ติดตามข้อความอ้างอิงที่ยกมาข้างล่างเพื่อการวิเคราะห์ที่ลึกลงไปของความคิดเห็นของอิสลามต่อสัตว์

หมายเหตุข้างท้าย

1 คำกล่าวภาษาอาหรับนี้มีความหมายว่า "ในนามของพระเจ้า ความเมตตาและความกรุณา" เป็นการเริ่มของทุกสูราในคัมภีร์โกหร่านที่ศักดิ์สิทธิ์ มุสลิมจำนวนมากท่องคำกล่าวนี้ก่อนที่จะเริ่มพูดหรือกระทำการใด ๆ

2 http://www.ivu.org/news/1-96/muslim.html

3 คัมภีร์โกหร่านอันศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วย114บท รู้จักในชื่อสูราส์ แต่ละบทมีข้อความหลายข้อความ คำบันทึก "x:y" อ้างถึงสูราxและข้อความy

4 Peace Be Upon Him

5 The Prophet

6 The Third "Word"

7 Sheikh Farid Wagdi, on Sactifice,in "Amimals in Islam" by Al-Hafiz B.A. Masri [p.117]

เอกสารอ้างอิง:

คุณอาจจะหาอ้างอิงของคุณเอง หนังสือหลายเล่มและเว็บไซต์อิสลาม จะช่วยคุณในการค้นหาความจริง ข้างล่างนี้เป็นเว็บไซต์บางส่วน

-Bawa Muhaiyaddeen, htt://www.bmf.org/ & http://members.aol.com/yahyam/bawaveg.html

-Bawa Muhaiyaddeen "Islam and World Peace-Explanations of a Sufi" http://www.bmj.org/iswp/speak-peace.html

-Sufism and Vegetarianism- http://www.superluminal.com/cookbook/essay_vegetarianism.html

-Kathleen Seidel,"Serving the Guest-A Sufi Cookbook and Art Gallery" http://www.superluminal.com/cookbook/.

- http://www.islamicconcern.com/fatwas.asp on vegetarianism(plus video of imam masri)

"Islamic Concern for Animals" by Al-Hafiz Basheer Ahmad Masri. 1987. Athene trust.

-Masri,Al-Hafiz Basheer Ahmad, Animals in Islam", petersfield, England: Athene Trust, 1989. A detailed analysis of the Quran and Islam as it relates to animals. Excerpts are available from the internet: http://www.chaionline.org/en/compassion/islam/heritage_ islam-i.htm

-Ahmed,Rafeeque.islam and Vegetarianism.Awaiting full bibliographic details.

-Attar: Memorial of the saints [available on internet http://www.omphaloskepsis.com/collection/descriptions/mussm.html] .

-Communique Agence France-Presse du 16 avril 1997, Soheib bencheikh, Grand Mufti de la mosquee de Marseille [in French] [published on internet]-see http://en.wikipedia.org/wiki/Soheib-Bencheikh and http://www.lemonde.fr/web/article/0,1-0@2-3230,36-246040,0.html.

- http://membres.lycos.fr/islamica/exces.htm [French]

- http://www.themodernreligion.com/misc/an/an1.htm

- http://www.themodernreligion.com/misc/an/an2.htm

- http://www.vegblog.org/archive/2003/10/01/
islam_and_vegetarianism.php

- http://www.vegsource.com/biospirituality/islam.html

- http://www.thevegetarianchannel.com/directory/
Lifestyle/Religion_,038_Spirituality/Muslim/