ยุคมังสวิรัติ |
|||
@
![]()
มังสวิรัติครองตำแหน่งสูงสุดสำหรับนักกีฬาชั้นหนึ่งโดยพี่ประทับจิตหญิงวรรณวิไล รักการดี มิวนิค เยอรมนี (ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน)
นิตยสารมังสวิรัติชั้นนำของประเทศเยอรมนี naturlich vegetarischฉบับเดือนมกราคม 2549 ซึ่งพิมพ์โดย Vegetarier-Bund Deutschlands e.v.(VEBU) ได้มีบทสัมภาษณ์ของ อเล็กซานเดอร์ ดาร์กัสซ์ (Alexander Dargatz) นายแพทย์และนักเพาะกายแชมเปี้ยนโลกอายุ 28 ปี และเอเลนา วาเลนด์ซิก (Elena Walendzik) นักมวยรุ่นเฟเธอร์เวท อายุ 21 ปี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดาวรุ่งมังสวิรัติแห่งประเทศเยอรมนี” และสิ่งที่ทำให้นักกีฬาเหล่านี้เป็นดาวรุ่งในโลกมังสวิรัติก็คือ พวกเขาได้รับตำแหน่งโดยปราศจากการบริโภคเนื้อสัตว์แม้แต่ออนซ์เดียว
นักเพาะกายแชมเปี้ยนโลก พ.ศ.2548 เป็นมังสวิรัติ
ในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆนี้ นายดาร์กัสซ์ได้ถูกถามเกี่ยวกับความสำเร็จในการผสมผสานอาหารเจกับความเคร่งครัดในการฝึกการเพาะกายของเขา เขาตอบว่าเขาได้เป็นมังสวิรัติมา 5 ปีกว่าแล้ว โดยได้กลายเป็นมังสวิรัติภายในชั่วข้ามคืนในปีพ.ศ.2543 หลังจากที่ได้ตระหนักถึงวิธีการมากมายที่สัตว์และธรรมชาติถูกกระทำทารุณจากการกินเนื้อสัตว์ เขากล่าวต่อไปว่า “มันทำให้ผมร้องไห้ ไม่มีความจำเป็นเลยจริงๆสำหรับเราที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และการทำเช่นนั้นเราได้สร้างความเจ็บปวดมากมาย นั่นคือคำจำกัดความของคำว่าอาชญากรรม ผมไม่สามารถเป็นอะไรอื่นได้นอกจากเป็นชาวเจ หลังจากที่ผมเข้าใจในเรื่องนั้นแล้ว” นายดาร์กัสซ์ยังได้สังเกตเห็นว่าสุขภาพของเขาดีขึ้นมากนับตั้งแต่กลายมาเป็นมังสวิรัติ และเขาเกือบจะไม่เคยเจ็บป่วยเลย ยิ่งไปกว่านั้น ท่าทีที่นายดาร์กัสซ์มีต่อการเพาะกายก็จดจ่อในทางบวกมาก เมื่อถูกถามว่าอะไรที่เขาคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการฝึก เขาตอบว่า “ความอดทน ความอดทนและความอุตสาหพยายาม การเพาะกายใช้เวลา คุณไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อของคุณให้โตขึ้นได้ มันใช้เวลา ความพยายามไม่ลดละ ความอุทิศตนและความรักในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่” การเข้าถึงการกีฬาในทางปฏิบัตินี้สามารถนำไปใช้กับด้านอื่นๆหลายด้านในชีวิตเช่นกัน รวมไปถึงการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณ!
นักมวยซึ่งพึ่งพา “พลังเต้าหู้” เพื่อเอาชนะ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีผลกระทบกับแรงกระตุ้นของเธอ หรือระดับการชกมวยของเธอในสังเวียน และสื่อของประเทศเยอรมันก็มีความเป็นบวกในสถานะความเป็นมังสวิรัติของ นส.วาเลนด์ซิก เหมือนกับความสำเร็จทางด้านกีฬาของเธอ โดยพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ว่า “พลังเต้าหู้สำหรับราชินีมวยแห่งแฮนโนเวอร์!” มันอาจจะไม่เป็นที่ประหลาดใจที่ได้ทราบว่าสมาพันธ์มังสวิรัติได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกมากว่า 100 ปีแล้วในประเทศเยอรมนี อังกฤษและสหรัฐอเมริกา แน่นอนประเทศอย่างเช่นอินเดียเป็นมังสวิรัติอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าในเวลานั้น แต่ในโลกตะวันตกมังสวิรัติถูกจัดว่าเป็นความเคลื่อนไหวอย่างถอนรากถอนโคน ในประเทศเยอรมัน สมาพันธ์มังสวิรัติถูกก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2411(คศ.1868) โดยเอดูอาร์ด บัลต์เซอร์ (Eduard Baltzer) ซึ่งได้กล่าวในนามของสมาชิกสมาพันธ์ว่า “การฆาตกรรมสัตว์ไม่ได้รับอนุญาตด้วยเหตุผลทางจริยธรรม สัตว์มีสิทธิของมันที่จะมีชีวิตและต้องการการปกป้องจากมนุษย์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา มังสวิรัติก็ได้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ และอเล็กซานเดอร์ ดาร์กัสซ์และเอเลนา วาเลนด์ซิก ก็ได้เป็นตัวอย่างอันเยี่ยมยอดแห่งการวิวัฒนาการทางด้านบวกในจิตสำนึกของมนุษย์ นักกีฬาที่สร้างแรงบันดาลใจเหล่านี้นับได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งความเมตตา และตัวแทนแห่งสารอาหารอันเลิศล้ำและประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพของอาหารมังสวิรัติ การกระทำและคำพูดของพวกเขาได้อธิบายแทนเพื่อนๆที่เป็นสัตว์ของเรา และมนุษย์คนอื่นๆที่มีความนับถือในความน่าเคารพของทุกชีวิต ดังนั้นพวกเขาจึงอาจได้รับการขนานนามว่าเป็น “วีรบุรุษตัวจริง” อีกด้วย.♥
|