ยุคมังสวิรัติ

เรื่องราวของอัจฉริยะมังสวิรัติ 2 คน

 

อาหารมังสวิรัติมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใหญ่และเด็ก ช่วยพัฒนาสติปัญญาให้สูงขึ้น มีความเมตตามากขึ้นและมีจิตสำนึกทางจิตวิญญาณที่ลึกล้ำมากขึ้น ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของคนที่ฉลาดที่สุดของโลก 2 คน ซึ่งทั้งสองต่างก็เป็นมังสวิรัติ

 
โดยกลุ่มข่าวฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

ผู้หญิงที่ฉลาดที่สุดในโลก

ชากุนตลา เทวี (Shakuntal Deviเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 (คศ.1939)ในบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียซึ่งได้รับสมญาว่าเป็น “เครื่องคิดเลขมนุษย์” และ “ผู้หญิงที่ฉลาดที่สุดในโลก” เธอได้รับการทดสอบในมหาวิทยาลัยทั่วโลก การแสดงที่มีชื่อเสียงที่สุดของเธอคือการคูณเลข 13 หลัก 2จำนวนที่สุ่มมาภายใน 28 วินาที ชัยชนะนี้ทำให้นส.เทวีได้ถูกบันทึกไว้ใน บันทึกโลกหนังสือกินเนส แต่ต่อมาก็ได้ถูกถอนชื่อออกไป “บนพื้นฐานที่ว่าความสำเร็จของเธอเหนือกว่าความสามารถในการคำนวณของคนที่มีความสามารถโดดเด่นอื่นๆที่ถูกสืบสวนเป็นอย่างมากจนการรับรองอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ปกติ” การคำนวณได้ทำต่อหน้าศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ ณ.มหาวิทยาลัยสำคัญของสหรัฐ ซึ่งได้ขับไล่ความสงสัยของผู้พิมพ์หนังสือ กินเนส แต่เห็นพ้องว่าความสำเร็จนั้นเหลือเชื่อจริงๆ นส.เทวียังได้ทำลายสถิติอื่นๆทางคณิตศาสตร์นับไม่ถ้วน และเชื่อกันว่าเธอเป็นศรีนิวาสา รามานุจัน (Srinivasa Ramaujan) (พ.ศ.2430-2463) ที่กลับชาติมาเกิดซึ่งเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของทุกยุคสมัย และยังเป็นมังสวิรัติอีกด้วย เธอได้อธิบายถึงความลับในความสามารถของเธอว่า :

คำตอบมันแล่นแว๊บเข้ามาในหัวฉัน สำหรับการสาธิตที่ยากซึ่งมีจำนวนตัวเลขมากๆ ฉันจะเตรียมตัว 2-3 วัน ฉันจะพักผ่อน ใจพักผ่อนเต็มที่ ฉันวางปัญหาส่วนตัวไว้และไม่แม้กระทั่งคิดถึงมัน ซึ่งก็นับเป็นการบำบัดที่ดีสำหรับฉันด้วย เมื่อฉันขึ้นไปบนเวที ทั้งหมดที่ฉันคิดก็คือจะให้คำตอบที่ถูกต้องอย่างไรต่อปัญหา ใช่ ฉันอยู่ใน บันทึกโลกหนังสือกินเนส ทั้งหมดมันเป็นพระกรุณาคุณของพระเจ้า ฉันไม่ได้รับเอาเกียรติยศชื่อเสียงนั้นมาใส่ตัว ฉันสามารถคำนวณได้ 1.5-2 ชั่วโมง ทันทีที่ฉันเริ่มต้น คุณก็ไม่อาจหยุดรั้งฉันไว้ได้ แต่พอจะทำมันอีกฉันก็ต้องเตรียมตัว 2-3 วัน

นส.เทวีได้เดินทางไปทั่วอินเดียและอาฟริกา สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆในการเรียนคณิตศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้ เธอได้ทำงานเพื่อจะก่อตั้งสถาบันคณิตศาสตร์ในอินเดีย เพื่อส่งเสริมมรดกอันน่าภาคภูมิใจในสาขานี้ของประเทศ และได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงมากมายเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ รวมไปถึงนวนิยายอาชญากรรม เกี่ยวกับวิธีการสอนในปัจจุบันนี้เธอได้กล่าวว่า “โรงเรียนส่วนใหญ่ทุกวันนี้สอนคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งขาดไปคือการให้แรงหนุนทางจิตวิญญาณแก่เด็กๆ ฉันอยากให้เอาใจใส่ในเรื่องนั้นด้วย เพราะการขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องดี”

นส.เทวียังเป็นนักมังสวิรัติตลอดชีพอีกด้วย เเละได้เขียนตำราอาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ชาย เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาหารมังสวิรัติของเธอมีดังต่อไปนี้ เมื่อเธอไปเยือนสหรัฐเป็นครั้งแรก เธอมักกินแพนเค้กและน้ำเชื่อมเมเปิ้ลเสมอๆ เนื่องจากอาหารมังสวิรัติอื่นๆมีไม่กี่อย่างในขณะนั้น แพนเค้กอเมริกันทำให้เธอนึกถึงอาหารเช้าแบบฉบับของชาวอินเดียตอนใต้คือ โดไซ (เครปถั่วเลนทิลหมัก) ในช่วงเวลานั้นเธอได้เป็นตัวทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยดร.อาร์เธอร์ เจนเซ่น นักวิจัยในเรื่องความฉลาดของมนุษย์ ณ.มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กลีย์ ดร.เจนเซ่นได้บรรยายถึงการกินแพนเค้กเป็นประจำของเธอในรายงานทางวิทยาศาสตร์ โดยอ้างว่ามันอาจจะเป็นหลักฐานที่เป็นไปได้แห่งวิกลจริต รายงานนี้ถูกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในหนังที่ได้รับรางวัลออสการ์คือ Rainman (พ.ศ.2531) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ดัสติน ฮอฟแมน เล่นบทเป็นอัจฉริยะที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์คล้ายกับนส.เทวี แต่เป็นคนที่เซ่อๆซ่าๆในการเข้าสังคม และหลงใหลในการกินแพนเค้ก! เทวีหัวเราะในความเข้าใจผิดๆนี้ที่ไม่ใช่มังสวิรัติอันเป็นแบบฉบับความจริง สมมุติฐานของเจนเซ่นคือ เทวีเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมสมบูรณ์เป็นพิเศษและเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีเมตตาและสร้างแรงบันดาลใจ

ทำไม “เด็กที่ฉลาดที่สุดของอเมริกา”จึงกลายเป็นมังสวิรัติ

เกรเกอรี่ สมิธ(Gregory Smith) เป็นเด็กที่มีความสามารถอย่างไม่ธรรมดาจากสหรัฐ ซึ่งเรียนจบวิทยาลัยเมื่ออายุได้ 13 ปีด้วยเกียนตินิยมมากมาย และขณะนี้กำลังทำปริญญาเอก 4 ใบ ณ.มหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย เมื่ออายุได้ 9 ขวบเขาได้ก่อตั้ง International Youth Advovates ซึ่งเป็นองค์ส่งเสริมสันติภาพและความไม่รุนแรง และนับแต่นั้นเป็นต้นมาได้ถูกเสนอชื่อ 4 ครั้งชิงรางวับโนเบลสาขาสันติภาพ เขาได้พบประธานาธิบดีต่างๆ (รวมถึงประธานาธิบดี บิล คลินตัน แห่งสหรัฐ) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและผู้นำคนอื่นๆ เขาได้ปรากฏตัวต่อหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และได้เป็นผู้แทนCCF ในการประชุมพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่สุดของเกรเกอรี่ คือการพัฒนาโรงเรียนสันติภาพในประเทศเคนยาที่เสียหายจากสงคราม และห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกในรวันดา ขณะนี้เขาอายุ 16 ปี

เมื่อเกรเกอรี่อายุได้ 2 ขวบ แม้ว่าเขาจะอาศัยอยู่ในครอบครัวที่กินเนื้อสัตว์ เขาก็ตกลงใจอย่างมีสติที่จะกินอาหารมังสวิรัติ และต่อมาก็ได้ชักชวนพ่อแม่ของเขาให้ทำตามตัวอย่างของเขา เขาได้อธิบายการตัดสินใจเป็นมังสวิรัติดังต่อไปนี้ :

มีหลายเหตุผลด้วยกันที่ผมเลือกเป็นมังสวิรัติ ที่สำคัญที่สุดก็คือชีวิตที่มีสุขภาพ ถ้าโลกกลายเป็นมังสวิรัติหรืออย่างน้อยที่สุดจำกัดการบริโภคสัตว์เป็นเดือนละ 2 ครั้ง เราก็จะสามารถเลี้ยงดูโลกและกำจัดความอดอยากและความเจ็บป่วยที่มาจากการขาดสารอาหารได้ การศึกษาได้พิสูจน์ว่าสารอาหารและสุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของขบวนการศึกษา การศึกษาและความเข้าใจที่มีเมตตาของโลกเรา มีความสำคัญสำหรับสันติภาพ

การเป็นนิสิตปี 1ที่อายุ 10 ขวบได้ดึงดูดความสนใจของสื่อนานาชาติ สิ่งนั้นได้ช่วยสร้างเวทีสำหรับพันธกิจในชีวิตผมที่จะปกป้องคุ้มครองชีวิตของเด็กๆในโลก การวิจัยทางคณิตศาสตร์ การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ชีวภาพ และความคิดริเริ่มทางการเมืองนานาชาติเป็นส่วนหนึ่งของแผนการในที่สุดของผม พื้นฐานทางการศึกษาที่ผมกำลังสร้างอยู่จะเกี่ยวโยงระหว่างกันไปตลอดอนาคตของผม เพราะผมกระหายที่จะให้ความช่วยเหลือตลอดไปเพื่อประโยชน์ของประเทศของผมและให้การบริการแก่โลก

ความมุ่งมั่นเป็นพิเศษของเด็กหนุ่มผู้นี้ที่จะกินอาหารมังสวิรัติและช่วยเหลือมนุษยชาติ ได้แสดงให้เห็นถึงความลึกล้ำในบุคลิกภาพและระดับความเข้าใจทางจิตวิญญาณซึ่งไกลเกินกว่าอายุของเขา และตัวอย่างของเขารวมถึงตัวอย่างของชากุนตลา เทวี ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า การเป็นมังสวิรัติเป็นการตัดสินใจของชีวิตที่ชาญฉลาดและมีประโยชน์ ตามที่อัจฉริยะมังสวิรัติผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวว่า “มันเป็นทัศนะของผมที่ว่าผลทางร่างกายในด้านอารมณ์ของมนุษย์ ของการใช้ชีวิตแบบมังสวิรัติ จะมีอิทธิพลที่ให้ประโยชน์มากที่สุดแก่มวลมนุษยชาติจำนวนมาก”

ข้อมูลอ้างอิง :

1.http://www.chennaionline.com/cityfeature/Personalities/humancomputer.asp 2.http://www.hinduismtoday.com/archives/2000/5-6/2000-5-17.shtml
3.http://www.gregoryrsmith.com