การมองอนาคตของยุคทอง


 

 

ยุคใหม่
คิดใหม่
ทำใหม่

 

เขียนโดยศิษย์ผู้พี่ชายเฉิน ไทเป ฟอร์โมซา
(ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)

 

 

 

มนุษย์เริ่มจากการทำสงครามจนมาเป็นการอยู่ร่วม เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เดินผ่านทางที่ขรุขระมากมาย การกระทำดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของการแสวงหาความสุข จนกระทั่งทุกวันนี้ แม้คนส่วนมากจะไม่ต้องกังวลถึงการกินอยู่ รอดพ้นจากสถาพรอดตาย แต่ว่า ยังห่างไกลจากความสุขอย่างแท้จริงเป็นระยะไกลแสนไกล จิตใจของคนยังคงสั่นคลอนไปกับการเมืองและการเศรษฐกิจ ความกดดันของชีวิตทำให้กายใจอ่อนล้า ไม่มีเวลาพอที่จะเสวยสุขกับชีวิต ความคิดที่ต่างศาสนากันนำไปสูการปะทะกัน เหมือนกับภูเขาไฟที่รอการระเบิด พอระเบิดแล้วก็แก้ไขไม่ได้เลย ด้วยปัญหาดังกล่าว อนุตราจารย์ชิงไห่ ได้เสนอทางแก้ไขตามสถานที่ต่าง ๆ มาแล้ว

 

ด้านการเมือง

ไม่ว่าการเมืองแบบไหน ปัจจุบันผู้คนตกอยู่ในสภาพที่ต้อง "ยอมรับแต่ไม่พอใจ" ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ปัญหาของโลกจะไปโทษนักการเมืองไม่ได้ ไม่ควรไปโทษระบบเศรษฐกิจ ระบบลัทธิของประเทศใด ๆ แต่ต้องโทษตัวเองที่ไม่รู้จักจิตเดิมแท้ของตัวเอง ไม่ทราบว่า ตัวเองมีความประเสริฐเพียงใด ไม่ทราบว่า ตัวเองก็คือนิรมาณกายของความพอใจ ตัวเองเป็นตัวแทนของพลังรัก ดังนั้น การรู้แจ้งจึงเป็นยารักษาที่แก้ไขปัญหาทุกอย่าง แก้ไขปัญหาของโลกสงครามทั้งหมด" (คัดมาจาก ธรรมสาร ฉบับที่ 37 ท่านอาจารย์กล่าว-การชื่นชมชีวิตตั้งแต่รู้แจ้ง)

ในการกระทำทั้งหมด อาจารย์เสนอว่า “ประชาชนต้องหาผู้มีความสามารถเอง ไม่ควรไปอาศัยรัฐบาลกับนักการเมือง ผู้สมัครส.ส.ควรให้ประชาชนเป็นผู้เลือก เมื่อประกาศผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว ให้ประชาชนทำการหย่อนบัตรตัดสิน ทำเช่นนี้ ผู้มีคุณธรรม มีความสามารถไม่จำเป็นต้องมีเงิน ก็สามารถที่จะทำงานให้กับประเทศชาติได้” (คัดจาก ธรรมสาร ฉบัยที่ 51 ถ้อยคำอาจารย์-การเลือกความสามารถกับความซื่อสัตย์)

ท่านอาจารย์ชี้แจงต่อไปว่า “อาจารย์คิดว่า โลกของพวกเรา เรื่องการเลือกประธานาธิบดีต้องแก้ไขกันบ้าง เป็นต้นว่า ถ้าเป็นประธานาธิบดีก็ให้ท่านทำงานต่อไป จะต้องไปเสียเงินมากมาย เสียเวลามากมาย สร้างเรื่องราวมากมายทำไม เพียงเพื่อเลือกใหม่อีกครั้ง ถ้าเกิดประธานาธิบดีเป็นคนดีมาก แต่ขาดความสามารถในการโฆษณาตัวเอง ไม่รู้จักเชียร์ตัวเอง ความสามารถในการโฆษณา ต่อสู้ไม่ดี อีกสักครู่ก็จะแพ้ แล้วอีกคนหนึ่งขึ้นมา เขาอาจเก่งเรื่องการค้าขาย เข้าใจการโฆษณา มีเงินมาก แล้วจากนั้น ไปซื้อตัวคนอื่น สมมุติว่าเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จะสูญเสียคนเก่งไปคนหนึ่ง! แล้วเปลี่ยนคนที่ขึ้นมาใหม่ก็ไม่เห็นจะมีดีอะไร มาเป็นประธานาธิบดี 2-3 ปีอย่างเร่งรีบ สามารถทำอะไรได้ ?...ทั้งยังทำให้ประเทศสร้างบรรยากาศการชิงดีชิงเด่น ทำเช่นนี้ไม่ดี! อาจารย์คิดว่ากฎหมายต้องแก้ไขบ้าง สามารถกำหนดระดับบางอย่างมาวัดกัน ...ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การต่างประเทศ ความสงบของสังคมด้านต่าง ๆได้กี่คะแนน เขาก็จะได้อยู่ต่อไป ทำเช่นนี้ก็จะลดความยุ่งยาก มิฉะนั้นแล้ว จะต้องเสียเวลามากมาย และเป็นการเสี่ยงมาก! กว่าจะได้ประธานาธิบดีที่ดีคนหนึ่ง ก็ให้เขาทำงานต่อไป อาจารย์คิดว่าทำเช่นนี้จะดีกว่า ทั้งประชาธิปไตย ทั้งประหยัดเวลา เพราะทุกคนต่างมีโอกาสจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีทั้งสิ้น มันชัดเจน” (คัดมาจากการปราศรัยของอนุตราจารย์ชิงไห่ -จะบำเพ็ญอยู่ในโลกแห่งโลกีย์ได้อย่างไรเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2538 ที่ซีหู ฟอร์โมซา ดีวีดี #512)

ด้านเศรษฐกิจ

พวกเราจะต้องกระโดดให้พ้นจากระบบความจนกับความรวยที่สุดโต่ง ชีวิตขั้นพื้นฐานของคนจะต้องได้รับการคุ้มครอง และต้องขยันทำงานด้วย ท่านอาจารย์ชี้แจงว่า “อาจารย์คิดอย่างเคร่า ๆ ว่า มนุษย์ในอีก 2,000 ปีข้างหน้า ไม่ต้องทำงานลำบากเช่นนี้ พวกเราจะมีระบบที่ฉลาดกว่านี้ ผู้คนจะทำงานด้วยความพอใจ พวกเราอาจไม่ต้องการเงิน ทุกคนมาผลิตามสามารถของตัวเอง แล้วมาแบ่งปันกัน ทำเช่นนี้จะดีกว่า ...ความจริง ถ้าคนเรามีเวลาที่มากกว่านี้ เขาก็จะเสียสละได้มากกว่านี้ เขาสามารถจะใช้เวลาว่าง มาทำการผลิและเรียนรู้ และฝึกฝนตัวเองทางเทคนิคอื่น ๆ ได้ ขณะเดียวกันใช้ความสามารถพัฒนาความพอใจของตัวเอง ผู้คนมักใช้เวลาส่วนมากในด้านความพอใจ แล้วทำผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าออกมา อาจารย์คิดว่า ทุกคนควรทำงานเพียงครึ่งวันก็พอ อีกครึ่งวันเอามาพัฒนาความพอใจ ไม่ว่าพวกเขาจะชอบอะไร จะทำงานด้านประดิษฐ์ วิจัยก็ดี” (คัดมาจากคำปราศรัยของอนุตราจารย์ชิงไห่- ภัยพิบัติของมนุษย์มาจากความคิดที่ผิดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2537 วีดีทัศน์#446).

ด้านการศึกษา

นอกจากการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็น ระดับจิตใจสำคัญกว่า ปัจจุบันชาวอิสลามทางตะวันออกกลางที่มีการประท้วง ยิ่งแสดงออกถึงความเร่งด่วนทางด้านนี้ ปรากฏการณ์นี้ สืบเนื่องมาจากขาดความรู้ทางด้านศาสนา จากนั้น เกิดไฟไหม้ป่า ศาสนาที่ต่างกัน คณะการเมืองที่ต่างกัน ความจริงแล้วต่างมีจุดร่วมกันทั้งสิ้น คือการแสวงหาสัจจธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ส่วนประกอบของการงมงายต่อศาสนา ควรทิ้งไป แต่ไม่ใช้ธาตุแท้ของศาสนา

เนื่องด้วยความเห็นที่ตรงกัน อาจารย์มีความคิด “แต่ละมหาวิทยาลัยต่างมีห้องสมุด เก็บรักษาพระสูตรของศาสนาต่าง ๆ มากมาย ทำเช่นนี้ทุกคนสามารถมีอิสระ สันติ มาวิจัยปรัชญาของอาจารย์ในอดีต พวกเราเข้าใจศาสนาของคนข้างบ้าน เข้าใจศาสนาของเพื่อน ต่อไปก็ไม่ต้องทำสงครามมากมาย ไม่มีสงครามเรื่องศาสนา ไม่มีสงครามภายในมากมาย ” (คัดจากการปราศรัยของอนุตราจารย์ชิงไห่- ระหว่างศาสนา ทำไมจึงใส่ร้ายซึ่งกันและกันที่ไถจง ฟอร์โมซา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2531 วีดีทัศน์ #18)เพียงภาพวาดการ์ตูนของผู้อาวุโส ทำให้ทั่วโลกเกิดความไม่มั่นคง มนุษย์ถ้าต้องการมีความสุขกับวันสันติภาพยาวนาน ปัจจุบันเป็นเวลาที่เข้าใจซึ่งกันและกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกันแล้ว

ด้านความมั่นคง


อาจารย์แนะว่าใช้วิธีสันติมาป้องกัน "รัฐบาลต้องเข้าใจทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนมีความสุขยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่ไม่ต้องใช้กำลัง และไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากมายไปในด้านปืน ลูกระเบิด มาป้องกันประเทศชาติ ต้องเข้าใจว่าทำอย่างไรที่จะมีความปองดองกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สามารถติดต่อกันอย่างอิสระโดยไม่เกิดการปะทะไม่สบาย ขณะเดียวกันปกป้องผลประโยชน์และความปลอดภัยของประเทศของตน" (คัดจากการปราศรัยของอนุตราจารย์ชิงไห่- วิธีทำให้ประเทศชาติเข้มแข็งมั่นคงที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2536 วีดีโอเทป #327)

เคยมีคนถามว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้การปะทะกันระหว่างประเทศหมดไป อาจารย์ตอบว่า “ผู้คนต่างก่อสงคราม เป็นเพราะพวกเขาต่างเห็นแก่กายเนื้อนี้ ดังนั้น จึงถูกจำกัดอยู่กับความต้องการต่าง ๆ ที่มีอยู่ต่อหน้า ดังนั้น จึงเกิดการเข่นฆ่ากัน วิธีที่จะแก้ไขและดีที่สุด คือ การหาทางเพื่อเข้าใจว่า พวกเราไม่ใช่กายเนื้อนี้ ดังนั้น ไม่มีใครเป็นศัตรูกับพวกเรา และไม่มีเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ การรู้แจ้ง คือ คำตอบของปัญหาทั้งหมด หมายความว่า การรู้แจ้งเป็นคำตอบที่แท้จริงชั่วนิรันดร มิฉะนั้นแล้ว พวกเราก็จะเข้าใจผิดต่อไปว่า ตัวเองก็คือกายเนื้อนี้ คิดแต่ความต้องการที่ร่างกายต้องการเท่านั้น และกังวลว่าคนอื่นจะมาขโมยผลิตภัณฑ์เกษตรของพวกเรา แย่งชิงภรรยาของพวกเรา หรือโจมตีประเทศของพวกเรา บางประเทศทำสงครามเพื่อที่จะขยายเศรษฐกิจของตัวเอง เพื่อเลี้ยงดูประชากรที่มากเกินไป ก็ไปทำสงครามกับประเทศอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน ตลาดการค้าที่ใหญ่กว่านี้ ต่าง ๆ เป็นต้น สงครามเหล่านี้ล้วนมาจากสาเหตุของร่างกายนี้ แม้จะมีคนพูดว่า การสงครามเป็นการชิงอุดมการณ์ แต่ผลสุดท้ายพบว่า เป็นเพราะความต้องการของร่างกายนี้เอง ดังนั้น ขอเพียงทุกคนได้รู้แจ้ง สงครามก็จะยุติไปเอง เพราะทุกคนจะจำได้อย่างถ่องแท้ว่า ทั่วสารทิศต่างเป็นพี่น้องกัน” (คัดจาก ธรรมสาร ฉบับที่ 102 ถ้อยคำอาจารย์-ภายในสันติ)

ด้านชีวิตทางสังคม

อาจารย์แนะนำให้รู้จักคุณค่าทางปัญญาของคนชรา การอบรมเด็ก ๆ มอบให้กับคุณปู่คุณย่าดีที่สุด แต่ไม่ใช่ไปมอบให้กับพ่อแม่ที่ยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่ให้คนอดอยาก สร้างครัวสาธารณะ ทุกคนมาเอาตามต้องการได้ อาจารย์บอกว่า “ในจักรวาลมีสังคมที่ก้าวหน้ากว่าบางแห่ง ที่นั่นไม่ต้องทำงานเพื่อดำรงชีวิต ทุกหนทุกแห่งจะมีครัวสาธารณะหรือร้านค้าสาธารณะ ทุกคนนำเอาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเกษตรของตัวเอง ออกมาแรกสิ่งของที่ตัวเองต้องการ แม้บางคนจะไม่มีให้ แต่ก็เอาสิ่งที่ต้องการได้ แต่ถ้าต้องการเอามากกว่านี้ ก็ต้องขยันในด้านอื่น ๆ ทุกคนต่างเสียสละปัญญาและความสามารถของตัวเองให้กับสังคม จุดมุ่งหมายไม่ได้หวังจะเอาเงิน แต่เป็นเพราะความสุขจากการแบ่งปันนั่นเอง ความมีเกียรติที่ได้สละกำลังของตัวเอง” (คัดจาก ธรรมสาร ฉบับที่ 93 อาจารย์กล่าว-ระบบงานที่แตกต่างในจักรวาล)

พวกเราจะต้องแก้ไขทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา กับระบบสังคมด้วย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมตามอุดมการณ์ เพื่อมาบริการแทนเรื่องอำนาจ ใช้การแบ่งปันแทนการแข่งขัน ใช้ความเข้าใจแทนการวิจารณ์ เห็นพ้องกันว่าพวกเรามีโลกเดียว อยู่ร่วมกันอย่างลิ้นกับฟัน ต้องก้าวพ้นรั้วที่คนสร้างขึ้นมากั้น ความแตกต่างของชนชั้นมนุษย์ ประเทศ ศาสนา อาจารย์มีความหวังต่อผู้บำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิม “พวกเราจะต้องเป็นทัพหน้า เป็นผู้นำของโลก ไม่ใช่ไปดำเนินการทางการเมือง ไม่ใช่ไปดำเนินการปฏิวัติ แต่เป็นตัวอย่างของผู้บริการด้วยความรัก นี่คือวิธีการช่วยโลกของพวกเรา และนำพาโลกนี้เข้าสู่ผู้คนต่างมีจิตใจที่จะบริการ เป็นยุคใหม่ที่มีความรักซึ่งกันและกัน ขอเพียงมีชีวิตอยู่วันเดียว พวกเราก็ควรเสียสละตัวเอง ขยัน เพื่อความก้าวหน้าและอยู่ดีของมวลมนุษย์ ทั่วโลก ทั่วทั้งจักรวาล สายตาของพวกเราต้องเปิดกว้าง ไกลกว่าความจำกัดของชีวิต ต้องสูงส่งสง่า สูงส่งสง่าจนกล้าเสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องมีความประเสริฐ ประเสริฐจนไม่กลัวอะไร เมื่อมีความคิดเช่นนี้ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอะไรก็เป็นเรื่องเล็ก อะไรที่ตัวเองไม่สะดวก ก็จะไม่ยอมเอ่ยถึงเลย อาจารย์ไม่รู้สึกว่า สิ่งที่พวกเรากำลังพูดกันอยู่นี่ เป็นการพูดเพ้อเจ้อหรือคิดฝัน แต่เป็นอุดมการณ์ที่จะต้องปรากฏสักวันหนึ่ง” (คัดจาก ธรรมสาร ฉบับที่ 21 อาจารย์กล่าว-นำพาโลกก้าวสู่ศตวรรษใหม่).


 <<
ส่งหน้านี้ต่อให้เพื่อน ๆ