บุคคลงดงามและเหตุการณ์ดีงาม

 

นิคและจอร์จ คลูนีย์ สนับสนุนการชุมนุมเพื่อช่วยดาร์ฟูร์

 

ดาราที่มีชื่อเสียงส่องแสง ในซูดาน

โดยกลุ่มข่าวสิงคโปร์ (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

จอร์จ คลูนีย์ ร่วมกับวุฒิสมาชิ กแซม บราวน์แบค และ บาแรค โอบาม่า เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือนานาชาติในคลับสื่อมวลชนแห่งชาติในวอชิงตัน

นักแสดงชายชาวสหรัฐ จอร์จ คลูนีย์ ได้กลับบ้านในวันจันทร์ที่ 24 เมษายน หลังจากการเดินทาง 5 วันไปยังพรมแดนระหว่างแช็ดและดาร์ฟูร์ ซึ่งเขาได้มีบทบาทล่าสุดเป็น ‘ดารา’ ซึ่งไปยังดาร์ฟูร์ คลูนีย์และพ่อของเขา นิค ซึ่งอดีตเป็นผู้ประสานงานโทรทัศน์ได้เดินทางร่วมกับช่างถ่ายรูปได้ไปที่ดาร์ฟูร์ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีสั้น ๆ เพื่อรายงานถึงเรื่องราวที่น่าเศร้า ซึ่งเล่าโดยครอบครัวในค่ายผู้ลี้ภัยซูดาน จากการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์และถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทาง เขาได้ทำให้มีการตระหนักรู้ โดยดึงดูดความสนใจต่อสถานการณ์ และเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือนานาชาติ เพื่อยุติความทุกข์ยากของผู้คนในภูมิภาคตะวันตกของดาร์ฟูร์ในซูดาน

ได้มีการตัดท่อนสั้น ๆ ของภาพยนตร์มาให้ชม ในการประชุมผู้สื่อข่าวของวอชิงตัน คลูนีย์ ซึ่งได้รับ รางวัลออสการ์ ♥♥♥♥♥ โดยที่มีวุฒิสมาชิกเข้าร่วมด้วย คือ แซม บราวน์แบค ใน Kansas and Damocrat Barack Obama of Illinois เพื่อกระตุ้นให้มีการให้ความสนใจมากขึ้นจากสหรัฐ ประเทศอื่น ๆ และสถาบันทางโลก เช่น นาโต้ และสหประชาชาติ คลูนีย์ยังได้พูดปราศรัยที่การชุมนุม “การชุมนุมรวมพลเพื่อช่วยเหลือดาร์ฟูร์” ในวอชิงตัน วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน งานนี้มีนักพูดที่สำคัญ อย่างเช่น ผู้ที่รอดชีวิตจากไฟลวก และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ เอลลี่ วีเซล และผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิคในการแข่งความเร็วสเก็ต โจอี้ ชีค
ชาวดาร์ฟูร์ยังคงสวมเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสและมีรอยยิ้มแห่งความหวัง แม้จะมีสภาพที่ย่ำแย่ในประเทศของพวกเขา

ผู้กำกับและนักแสดงชายที่ได้รับรางวัลอคาเดมี่ อวอร์ด ได้กระตุ้นส่งเสริมสาธารณชนให้เข้าร่วมในการชุมนุมทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งจัดในเมืองอื่น ๆ ของสหรัฐ เพื่อว่า สหรัฐและรัฐบาลอื่น ๆ จะได้รับข่าวสารนี้ เพื่อยุติการนองเลือดในดาร์ฟูร์ การชุมนุมนี้ซึ่งจัดโดยผู้นำศาสนาหลายศาสนา คือ ยิว, อีวันเจลิคอล, คาธอลิก, และมุสลิม ซึ่งหวังอย่างจริงใจที่จะนำสันติภาพมาสู่วิกฤตนี้ งานชุมนุมนี้ มีคนนับพันคนเข้าร่วมมือกับนักต่อสู้เคลื่อนไหว บุคคลที่มีชื่อเสียง และนักกฎหมาย เพื่อกระตุ้นให้สิ้นสุดความขัดแย้งในดาร์ฟูร์

ชาวซูดานในค่ายผู้ลี้ภัยเล่าเรื่องราวของพวกเขาให้กับนิคและจอร์จ คลูนีย์

แม้กระทั่งผู้อำนวยการสร้าง “อี.อาร์.” ซึ่งเป็นภาพยนต์ทางโทรทัศน์ที่ทำให้คลูนีย์มีชื่อเสียง ได้รับช่วงเป็นผู้นำต่อจากเขา และได้รวมเรื่องของดาร์ฟูร์ในอี.อาร์. ซึ่งเป็นตอนวิกฤตและเป็นตอนจบ เพื่อเขย่าผู้ชมให้รับรู้ถึงความทุกข์อย่างมหาศาล และความจำเป็นที่จะต้องมีสันติภาพ

ผลจากการที่คนไม่กี่คนได้สร้างจิตสำนึกที่สูงขึ้น ทำให้ผู้คนจำนวนมากของโลกได้พูดเป็นเสียงเดียวกัน และได้แสดงออกในที่สาธารณะด้วยเสียงเรียกร้องให้มีสันติภาพ และสิ้นสุดความทุกข์ทรมานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การแสดงแห่งความรักนี้ ได้เป็นแรงผลักดันทางบวกในการพัฒนาชีวิตของชาวดาร์ฟูร์ในซูดาน ดังนั้น มันจึงอาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ได้มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพดาร์ฟูร์ในอาบูจา ไนจีเรีย ระหว่างรัฐบาลซูดานกับกลุ่มกบฎในดาร์ฟูร์ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2549

 

ส่งหน้านี้ให้เพื่อน ๆ