บันทึกโดยศิษย์พี่หญิงไช่เหวินเจียง เกาสง ฟอร์โมซา มองโกเลียตั้งอยู่ระหว่างประเทศจีนและรัสเซีย มีประชากรประมาณ 2 ล้านกว่าคน พื้นที่กว้างใหญ่แต่มีประชากรน้อย ความหนาแน่นของประชากรมีน้อย เมืองอุลันบาตาร์ เป็นเมืองหลวงของมองโกเลีย เที่ยงคืนวันที่ 12 มิถุนายน ปีทองที่ 3 (2549) เพื่อนบำเพ็ญจำนวน 17 คน เดินทางไปถึงสนามบินเมืองอุลันบาตาร์ พอออกจากกรมศุลกากร ก็เห็นเพื่อนบำเพ็ญชาวมองโกเลีย ยืนเรียงแถวให้การต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น ทำให้พวกเราซาบซึ้งใจมาก เมื่อไปทานอาหารที่ศูนย์เสร็จแล้ว ก็เป็นเวลาตี 2 กว่า ทุกคนจึงกำหนดให้นั่งสมาธิกันจนสว่าง
|
เช้ามืดวันที่ 14 มิถุนายน พวกเราบินจากอุลันบาตาร์ไปถึงทางตอนใต้ของรัสเซีย ที่เมืองอิร์กูทสก์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่าเป็นกรุงปารีสในไซบีเรีย เมืองอิร์กูทสก์ปัจจุบันเป็นศูนย์เศรษฐกิจทางตะวันออก ไซบีเรียของรัสเซียมีประชากร 8 แสนคน พวกเราจัดแบ่งคณะออกเป็น 3 กลุ่ม และให้เพื่อนบำเพ็ญชาวมองโกเลียนอก ที่พูดภาษารัสเซียได้เป็นคนนำกลุ่ม
ช่วงเช้าวันนั้น เพื่อนบำเพ็ญเดินไปตามริมฝั่งแม่น้ำแอนการา ซึ่งอยู่ข้างๆ โรงแรม เพื่อแจกแผ่นปลิวภาษารัสเซีย แจกไปประมาณ 2,000 แผ่น กลางคืนทุกคนมาประเมินผลกัน รู้สึกประสิทธิภาพในวันนั้นยังต้องแก้ไข จึงกำหนดนั่งสมาธิตอนกลางคืนเพื่อเติมพลัง เพื่อให้วันรุ่งขึ้นแผ่นปลิวแต่ละแผ่นได้ส่งถึงผู้มีบุญสัมพันธ์
วันที่ 15 มิถุนายน พวกเราขีดเส้นตามแผนที่ออกมา 3 เส้นทาง เมื่อเสร็จอาหารเช้าก็ออกเดินทางทันที พวกเราเดินเท้าไปตามถนน เดินไปแจกไป เมื่อพบสวนสาธารณะ ท่ารถ หรือตลาด ก็จะหยุดอยู่นานหน่อย สิ่งที่น่าดีใจคือ 3 กลุ่มคนของพวกเราไม่ได้ถูกตรวจสอบ และได้พบกับประชาชนบางคนมาสอบถามข่าวสารกับพวกเราด้วย ทั้งตั้งใจฟังคำอธิบายของพวกเราด้วย มียายที่ขายขนมอยู่ในสวนสาธารณะคนหนึ่ง อนุญาตให้พวกเราวางแผ่นปลิวบนแผงขายขนมของท่านด้วย พวกเรามาถึงตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่ เห็นรอบๆ เต็มไปด้วยแผงขายของชั่วคราว ผู้คนมากจนล้นหลาม แจกแผ่นปลิวที่นำออกมาไปหมดอย่างรวดเร็ว ตอนเที่ยงกลับไปพักทานอาหารที่โรงแรม กลุ่มคนทั้ง 3 ต่างกลับมาด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส และหัวหน้ากลุ่มได้พูดถึงเรื่องแนบหนังสือพิมพ์ พวกเรากำหนดให้แผ่นปลิวจำนวน 12,000 แผ่น เพื่อนำไปแนบไว้กับหนังสือพิมพ์ของสำนักพิมพ์ใหญ่ 2 แห่งในพื้นที่ เพื่อส่งออกไป
วันที่ 16 มิถุนายน พวกเราไปทะเลสาบใหญ่ไบกัล ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตลอดทางเป็นป่าต้นเข็ม มัคคุเทศก์สาวรู้สึกบรรยากาศของพวกเราสบายมาก มีความสุข เธอบอกกับพวกเราว่า ก่อนหน้านี้เธอเคยทานเจ แต่มีงานมากจนเธอไม่สามารถจะทานต่อไป เธอคิดจะไปเริ่มทานเจใหม่ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ พวกเราให้การตอบสนองทันทีว่า “โอ้! เริ่มทานเจได้วันนี้เลย!” ขณะเดียวกันก็มอบม้วนข้าวคิซซี่ให้กับเธอ ระหว่างทางพวกเราไปชมพิพิธภัณฑ์ที่สร้างด้วยไม้แห่งหนึ่ง และเยี่ยมหมู่บ้านลิสยันกาในพื้นที่ เพื่อทราบชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ระหว่างทางพวกเราก็ได้มอบแผ่นปลิวให้กับผู้คนที่มีบุญสัมพันธ์เดินสวนทางกันมา หรือใส่กล่องไปรษณีย์ตามบ้าน ชาวรัสเซียส่วนมากจะรับแผ่นปลิวมาอย่างเป็นมิตรและอ่านต่อไป
เข้าร่วมงานเลี้ยงส่งตอนกลางคืน
|
เช้ามืดวันที่ 17 มิถุนายน พวกเรากลับมาที่มองโกเลีย เพื่อนบำเพ็ญในพื้นที่ได้จัดให้พวกเราไปชมชีวิตเลี้ยงสัตว์ของชนเผ่าที่ราบใหญ่ จนถึงปัจจุบัน ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในที่ราบใหญ่ก็ยังคงมีประชากรเป็น 70% ของประชากรทั้งหมด ความเป็นอยู่ของพวกเขาค่อนข้างยากจน การทานอาหารเจจึงไม่สะดวก การเผยแพร่ก็ยาก แต่แม้จะเป็นเช่นนี้ พวกเราเชื่อมั่นว่าจากความจริงใจ ความพยายามของเพื่อนบำเพ็ญชาวมองโกเลีย และการให้พรของพระเจ้าแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่างแน่นอน! เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันที่จะกลับฟอร์โมซา เพื่อนบำเพ็ญชาวมองโกเลียได้จัดงานเลี้ยงส่งในตอนกลางคืนที่ศูนย์ มีรายการร้องเพลงและรายการอื่นๆ ด้วยจิตวิญญาณของพวกเขาสูงมาก ทั้งมีความสามารถในเรื่องสร้างสรรค์ มีคติพจน์จำนวนมาก เขียนบทกวี และบทเพลงมากมายให้กับท่านอาจารย์ พวกเราฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้งมาก
ขอบคุณท่านอาจารย์ ทำให้พวกเราทำงานแจกแผ่นปลิวได้อย่างราบรื่น โดยไม่ได้พบกับอุปสรรคใดๆ เลย และช่วยให้พวกเราได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ภายในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ เรียกได้ว่าได้ประโยชน์มากมาย พวกเราเชื่อว่า จากการให้พรด้วยความรักของพระเจ้า จิตวิญญาณของคนใน 2 พื้นที่นี้จะได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ