อาจารย์เล่านิทาน

 

มีประสบการณ์ด้วยตัวเองทำให้รู้แจ้งง่ายขึ้น-การสอนด้วยปัญญาของพุทธ ทำให้นางยักษ์ก็รู้แจ้งได้

 

ปราศรัยธรรมโดยอนุตราจารย์ชิงไห่ ที่เผิงหู ฟอร์โมซา
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 (ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)

ขณะที่พระศากยมุนียังมีชีวิตอยู่ มีหญิงคนหนึ่ง เธอมีลูกชายเล็ก ๆ คนหนึ่ง วันหนึ่งลูกชายตายไปโดยไม่ได้เจ็บป่วย เธอรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ ร้องไห้ทั้งวันทั้งคืน ขณะนั้น พอดีกับพระศากยมุนีไปแสดงธรรมอยู่ใกล้แถวนั้น หญิงคนนั้นจึงร้องต่อพระศากยมุนีว่า ขอให้พระศากยมุนีแสดงปาฏิหาริย์ ใช้พลัง ใช้ปัญญาของท่าน มาช่วยเหลือลูกชายเธอ ขณะนั้น พระศากยมุนีบอกกับเธอว่า "ได้ซี! ข้าพเจ้าช่วยเขาได้ แต่เธอต้องกลับไปก่อน เพื่อไปถามว่าครอบครัวไหนบ้างที่ไม่มีญาติตายเลยทั้ง 5-6 ชั่วโคตร จากนั้นนำเอาเสื้อผ้าหรือสิ่งของพวกเขามาให้กับข้าพเจ้า เมื่อมีสิ่งของเหล่านี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงจะสามารถช่วยเหลือลูกชายเธอได้"

คุณแม่ฟังแล้ว ก็ไปถามตามบ้านต่าง ๆ ไปถามทั้งวันทั้งคืน ก็ไม่พบว่าทั้ง 5-6 ชั่วโคตรที่ไม่มีญาติตายเลย เธอทั้งเหนื่อยทั้งผิดหวัง จึงกลับมา พระศากยมุนีถามเธอว่า "มีครอบครัวที่ 5-6 ชั่วโคตรที่ไม่มีญาติตายเลยไหม?" เธอตอบว่า "ไม่มีเลย!" พระศากยมุนีจึงได้บอกกับเธอว่า "เป็นเช่นนี้จริง ชีวิตคนมันอนิจจัง ไม่มีใครเกิดมาแล้วไม่ต้องตาย ไม่ว่าใครสักวันหนึ่งก็ต้องตายทั้งนั้น ช้าหรือเร็วก็ต้องจากโลกนี้ไป เธออย่าได้เสียใจกับร่างกายที่ไม่เที่ยงนี้เลย" เมื่อพุทธกล่าวมาถึงตอนนี้ คุณแม่คนนั้นก็รู้แจ้ง และได้ถวายชีวิตให้กับพุทธ โดยขอเป็นลูกศิษย์ท่าน ทั้งขยันบำเพ็ญด้วย

ยังมีนิทานอีกเรื่องหนึ่ง มีนางยักษ์ตนหนึ่งหน้าตาน่าเกลียดมาก ทั้งน่ากลัวมาก นางยักษ์ตนนี้มีนิสัยที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง –ชอบกินคน เหมือนกับเสือที่ชอบกินคน คนทั่วไปชอบกินเนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ เป็ด ต่าง ๆ เป็นต้น ยักษ์ตนนั้นชอบกินเด็ก ๆ มากที่สุด เห็นเด็กเมื่อไรก็จะจับมากินหมด ดังนั้น เด็ก ๆ ในหมู่บ้านเกือบถูกมันกินหมด พ่อแม่ในหมู่บ้านมาขอให้พระศากยมุนีช่วย

นางยักษ์ตนนั้นก็มีลูกคนหนึ่ง เธอรักลูกตัวเองมาก เหมือนกับเสือกินสัตว์ได้ทุกชนิด หรือคนได้ แต่จะไม่กินลูกตัวเอง มันก็รักลูกตัวเองมากเช่นกัน

พระศากยมุนีบอกกับพวกเขาว่า "พวกเธอกลับไป รอจนนางยักษ์ตนนี้ออกไป เอาลูกของเธอมาซ่อนไว้ อย่าให้เธอรู้เป็นอันขาด จากนั้นค่อยว่ากัน" พ่อแม่เหล่านั้นรอจนนางยักษ์ออกไปข้างนอก จึงรีบเอาลูกเธอมาซ่อนไว้ทันที เมื่อนางยักษ์กลับมา หาลูกไม่พบ เสียใจมากจนแทบขาดใจ นอนกลิ้งอยู่กับพื้นไปมา ร้องไห้ครวญคราญ สุดท้ายเธอก็วิ่งไปหาพุทธ พวกเธอดูสิ ผีก็เคารพพุทธ ขอเพียงเป็นผู้ที่บำเพ็ญอย่างจริงจัง ผีและมารต่างก็เคารพ

พระศากยมุนีถามเธอว่า "เธอรักลูกเธอมากใช่ไหม?" เธอกล่าวว่า "ใช่!" พุทธบอกว่า "สำหรับเธอ ลูกเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในโลกนี้ ใช่ไหม ?" เธอตอบว่า "ใช่!" พุทธบอกว่า "ถ้าเธอรักลูกเธอมาก พ่อแม่อื่น ๆ ก็รักลูกของเขาเหมือนกัน แล้วเธอไปกินลูกเขาจนเกือบหมดทำไม? ถ้าเธอรับปากกับข้าพเจ้า ต่อไปไม่ไปกินลูกของคนอื่น ข้าพเจ้าจะช่วยเธอหาลูกให้พบ" นางยักษ์รีบรับปากทันที ผีก็รู้แจ้งได้ ใช่หรือไม่? พระศากยมุนีบอกเหตุผลให้เธอทราบ เธอรู้แจ้งทันที ต่อไปไม่กล้าไปกินลูกของคนอื่นอีก

สำหรับพวกเราแล้ว เด็กตัวเล็กมาก พูดก็ไม่เป็น เดินก็ไม่ได้ ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่พวกเราทราบดีว่า เขาก็เป็นสรรพสัตว์เหมือนกัน ต่อไปจะโตขึ้น เหมือนกับพวกเรา จากนิทานเรื่องนี้ พวกเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า สัตว์ก็เป็นสรรพสัตว์เช่นกัน ต่อไปถ้าพวกเขาบำเพ็ญมากขึ้น ก็จะเกิดเป็นคน สามารถสำเร็จเป็นพุทธได้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าพวกเราเรียนวิชาพุทธจริง มีจิตเมตตาจริง ก็ต้องสาบานไม่กินสัตว์จึงจะถูกต้อง

จากนิทาน 2 เรื่องนี้ พวกเราทราบว่า ปัญญาหรือการรู้แจ้งไม่ใช่ทุกคนจะได้เอง บางครั้ง ต้องมีคนพูดให้ฟัง เขาจึงจะเข้าใจ เหมือนกับนิทานเรื่องแรก คนที่เป็นแม่ ลูกของเธอตายไป แต่เธอไม่เข้าใจว่า สักวันหนึ่งเด็กอื่น ๆ ก็ตายได้เหมือนกัน คนตายได้ทั้งนั้น แต่เธอไม่เข้าใจ ถ้าพระศากยมุนีขณะนั้นใช้ปัญญาของท่านบอกกับเธอ "เธอทำไมต้องร้องไห้? เธอควรจะทราบว่า คนเรามันไม่เที่ยง ช้าหรือเร็วพวกเราก็ต้องจากไป มีเหตุก็ต้องมีผล ถ้าลูกของเธอมีเหตุและผลที่ไม่ดี เขาจึงต้องตายไปทันที เพราะไม่มีบุญ ดังนั้น เธอไม่ต้องเสียใจร้องไห้ต่าง ๆ เป็นต้น" เธอฟังไม่เข้าใจหรอก พวกเราส่วนมากเมื่อพบกับเหตุการณ์เช่นนี้ ก็จะปลอบใจคนแบบนี้

แต่พระศากยมุนีไม่ใช้วิธีนี้ ท่านบอกให้คุณแม่ไปหาเอง ไม่หาครอบครัวที่ไม่มีใครตายเลย เธอย่อมหาไม่ได้ เมื่อนั้น ไม่ว่าพระศากยมุนีจะพูดอย่างไร เธอจะเข้าใจทันที เพราะตัวเองมีประสบการณ์แล้ว เริ่มต้น อาจารย์ก็มีพูดเรื่องประสบการณ์ ถ้าพวกเราไม่สามารถบรรลุ(ธรรม)ด้วยตัวเอง ก็ต้องไปหาใครคนหนึ่ง เขาทราบดี ขณะเดียวกัน ก็สอนพวกเราหาอย่างไร ทำอย่างไร ต่อไป พวกเรามีประสบการณ์แล้ว ตัวเองสามารถรู้สัจธรรมได้

เป็นต้นว่า พวกเราอ่านอมิตพุทธสูตร พระศากยมุนีพูดว่า "พระอมิตพุทธเป็นแสงที่มิอาจประมาณ พระอมิตพุทธส่องแสงมาช่วยพวกเราทุกครั้ง สถานที่ของพระอมิตพุทธ มีนกน้อยร้องเพลง มีเสียงดนตรีที่ไพเราะต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าพวกเราได้ยินเสียงดนตรีเหล่านั้น จะมีจิตที่นิ่ง สวดพุทธ สวดธรรม สวดพระต่าง ๆ ได้" พวกเราฟังพุทธพูดเช่นนี้ และได้ยินคนว่า คนสามารถไปที่แดนสุขาวดีและมีความสุขอยู่ที่นั่นได้ แต่ถ้าพวกเราตัวเองไม่มีประสบการณ์ ก็จะไม่เชื่อ และไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่า ดินแดนสุขาวดีมันเป็นอย่างไร ดังนั้น ฟังธรรม อ่านพระสูตร เป็นการฟังประสบการณ์จากผู้อื่น ฟังคนอื่นเล่าอันดับชั้นของตัวเอง มันไม่เกี่ยวกับพวกเราเลย ไม่ว่าใครจะรู้แจ้ง จะเข้าใจ ต้องการสัมผัสดินแดนนั้น ก็ต้องมีประสบการณ์เช่นเดียวกัน อย่างน้อยก็ต้องมีประสบการจากดินแดนสุขาวดีเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง

ถ้าเวลานั้นพระศากยมุนีเรียกนางยักษ์มาทันที บอกกับเธอว่า "เธออย่างทำไม่ดีอย่างนั้น อย่าไปกินลูกของคนอื่น เธอไม่ทราบหรือ จิตใจพ่อแม่ของเด็กเหล่านั้นจะเจ็บปวดมาก เธอทำเช่นนี้ไม่ถูก ไม่ควรทำร้ายจิตใจผู้อื่น" ถ้าพระศากยมุนีพูดกับเธอตรง ๆ แบบนี้ นางยักษ์ตนนี้อาจจะไม่ยอมฟัง เพราะตัวเธอเองก็ไม่ทราบว่า ยังไม่มีประสบการณ์ปวดใจเป็นความรู้สึกอย่างไร ดังนั้น พระศากยมุนีไม่ได้พูดเหตุผลให้เธอฟังทันที ท่านบอกให้คนเอาลูกของเธอไปก่อน เพื่อให้เธอได้ประสบกับความปวดใจที่ศูนย์เสียลูกไป จากนั้น ค่อยพูดกับเธอ เธอก็จะเข้าใจทันที พวกเราปุถุชนก็มีการพูดเช่นนี้เหมือนกัน "เมื่อเป็นพ่อแม่คนแล้ว จึงเข้าใจจิตใจของพ่อแม่“