โลกหนึ่งเดียวแห่งความรัก

โลกการทำฟาร์มที่มีเมตตา

โดยกลุ่มข่าวลอนดอน สหราชอาณาจักร (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

โลกการทำฟาร์มที่มีเมตตา(Compassion in World Farming, CIWF) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2510 โดยเกษตรกรเลี้ยงโคนม นายปีเตอร์ โรเบิร์ต เพื่อตอบสนองต่อความนิยมที่เพิ่มขึ้นของวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่รุนแรงในช่วงปี 2503 เป็นต้นมา ปีเตอร์และแอนนาภรรยาของเขารู้สึกไม่สบายใจกับความไม่สนใจความผาสุกของสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์ม ปีเตอร์จึงได้เริ่มรณรงค์ตัวเองเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติต่อสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มอย่างมีมนุษยธรรม ในฐานะเป็นสรรพสัตว์โดยปราศจากการสนับสนุนจากกลุ่มความผาสุกของสัตว์สำคัญต่าง ๆ

เกือบ 40 ปีต่อมา ณ ขณะนี้ CIWF ได้เข้าสู่ระดับนานาชาติโดยมีสาขาในประเทศไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ ซึ่งติดต่อไปทั่วยุโรปและทั่วโลก นอกจากนั้นยังเป็นผู้นำของ พันธมิตรฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในยุโรป(European Coalition for Farm Animals (ECFA)) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มความผาสุกของสัตว์ 30 กลุ่มใน 25 ประเทศ ด้วยความร่วมมือในการรณรงค์ของ ECFA กับกลุ่มอื่น ๆ ทั่วโลก 150 กลุ่มจึงทำให้กลายเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ทรงพลัง

CIWF ต่อสู้เพื่อ "พัฒนาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มทั่วโลกให้ดีขึ้น" อยู่เสมอ โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการปฏิบัติและกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายอันมีเกียรติ CIWF ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งของบรรดาเพื่อน ๆ และบุคคลผู้มีชื่อเสียง อาทิเช่น นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ โจอันนา ลัมลีย์ กิจกรรมของพวกเขา ได้แก่ การต่อต้านอย่างสันติ การแนะนำชักชวน การยกระดับจิตสำนึก การนำเสนอรายงานทางวิทยาศาสตร์ และการเปิดโปงการปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อสัตว์โดยทีมจารกรรมที่ให้หลักฐานสำคัญ ผลที่เกิดขึ้น คือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในกฎหมายของยุโรป ความสำเร็จบางส่วนในความสำเร็จเด่น ๆ ที่มากมายของพวกเขาคือ

ปี 2540 จากการรณรงค์เป็นเวลา 10 ปีของ CIWF สัตว์ต่าง ๆ ก็ได้รับการยอมรับตามกฎหมายในฐานะเป็นสรรพสัตว์ในสหภาพยุโรป ทำให้มีการเพิ่มข้อบันทึกสนธิสัญญาความผาสุกของสัตว์ลงไปในสนธิสัญญายุโรป

ปี 2542 ในสหราชอาณาจักรได้มีการเสนอกฎหมายห้ามทำฟาร์มขนสัตว์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 การใช้คอกเพาะสัตว์และโซ่ตรวนล่ามสัตว์ได้กลายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และสหภาพยุโรปได้ตัดสินใจที่จะห้ามกรงสัตว์ที่ติดอาวุธภายในวันที่ 1 มกราคม 2555

ปี 2544 สหภาพยุโรปตกลงใจห้ามการใช้คอกเพาะสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2556

งานของ CIWF เป็นงานที่ทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และมีการรณรงค์มากมายในขณะนี้ หนึ่งในการรณรงค์เหล่านี้ก็คือ การรณรงค์ "รับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง" ซึ่งได้เริ่มโครงการในปี 2547 ในลอนดอน ด้วยความช่วยเหลือจากนักสิ่งแวดล้อมชั้นนำ โจนาธาน พอร์ริตต์ และผู้เชี่ยวชาญนโยบายอาหาร ศาสตราจารย์ ทิม ลาง มีวัตถุดิบหลายอย่างที่สนับสนุนการรณรงค์นี้ รวมทั้งรายงานที่เผ็ดร้อนอย่างสุด ๆ คือ "ผลประโยชน์ทั่วโลกของการรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง" ซึ่งเป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นเร่งด่วนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในเรื่องความสามารถในการยังชีพ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพมนุษย์ ความผาสุกของสัตว์ และเศรษฐกิจทั่วโลก ข้อสรุปได้เตือนพวกเราว่า ถ้าโลกยังต้องพึ่งพาเนื้อสัตว์เป็นอาหารต่อไป บวกกับแนวโน้มของประเทศกำลังพัฒนาที่รับเอา "อาหารตะวันตก" มาใช้ เราก็จะเผชิญกับ "การบั่นทอนอย่างหายนะในทรัพยากรโลก โดยมีความเป็นไปได้ที่จะมีผลภัยพิบัติอย่างมหันต์ตามมาต่อสุขภาพมนุษย์และความหิวโหย ต่อสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติและความจำเป็นของสัตว์"

การรณรงค์อีกอันหนึ่งมีชื่อว่า "สัตว์สำคัญต่อฉัน" ซึ่งต้องการการรวบรวมลายเซ็น 10 ล้านคนจากสาธารณชน โดยที่แต่ละบุคคลสามารถให้ลายเซ็นออนไลน์ได้ภายในไม่กี่วินาทีที่ http://www.animalsmatter.org พร้อมกันนี้ CIWF, RSPCA (Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์), WSPA (World Society for the Protection of Animals สมาคมโลกเพื่อการปกป้องสัตว์), HSI (Humane Society International สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ) และองค์กรอื่น ๆ จะใช้ลายเซ็นเหล่านี้ เพื่อแสดงให้รัฐบาลต่าง ๆ ของโลกเห็นว่า พวกเขาและสาธารณชนมีความมุ่งมั่นที่จะให้ได้มาซึ่งการประกาศสากลในเรื่องความผาสุกของสัตว์ ณ สหประชาชาติ

ความสำเร็จของ CIWF เป็นตัวอย่างอันเยี่ยมยอดของจิตสำนึกที่ได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นของโลกเรา และเป็นตัวอย่างของการพัฒนาทางบวกที่เราสามารถทำได้โดยการรวมการบำเพ็ญของเรากับปัญญาทางจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

เชื่อมโยงข้อมูลได้ที่:
1.โลกของการทำฟาร์มอย่างมีเมตตา: http://www.ciwf.org.uk
2.กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง: http://www.ciwf.org.uk/eatlessmeat
3.รายงาน "มีเงินเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากการรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง"(ดาวน์โหลดได้ในรูป pdf ไฟล์) http://www.ciwf.org.uk/eatlessmeat/html/report.html