รายงานสื่อมวลชน

 


ภัยธรรมชาติสามารถช่วย
ให้เกิดสันติภาพระหว่างประเทศ

โดยพี่สาวประทับจิตชิว ซานโจเซ่ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

ภัยพิบัติธรรมชาติมักจะพรากคนรักให้จากกัน แต่มันก็ยังทำให้ผู้คนจากหลายวัฒนธรรมและทัศนะที่แตกต่างกันให้มาใกล้ชิดกันได้ ยกตัวอย่าง แผ่นดินไหวในตุรกีเมื่อปีพ.ศ. 2542 ได้กระตุ้นให้ประเทศกรีซเข้าช่วยเหลือชาวตุรกีประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ทั้ง 2 ประเทศนี้ได้ปล่อยวางความขัดแย้งที่มีมาช้านาน แล้วหันมาร่วมมือกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่วนในประเทศอินโดนีเซียนั้น ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลของประเทศและกลุ่มแบ่งแยกอาเจะที่มีมา 30 ปีก็ได้หยุดลง เมื่อคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้ทำลายจังหวัดอาเจะ ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามเข้ามาร่วมมือกันลงนามฟื้นฟูสันติภาพ

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ วันที่ 8 ตุลาคม 2548 ในแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งทั้งปากีสถานและอินเดียต่างอ้างว่าเป็นของตน ก็ได้เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างขึ้น เป็นเหตุให้ทั้ง 2 ประเทศนี้หันหน้ามาร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย

หลังจากที่แผ่นดินไหวได้ขยายการทำลายเป็นวงกว้างข้ามพื้นที่ออกไป ประเทศปากีสถานได้ยอมรับอาหาร ยารักษาโรค เต็นท์ ถุงนอน และแผ่นพลาสติกจากประเทศอินเดียจำนวน 25 ตัน เพื่อช่วยผู้ประสบภัยในอะซาด (ซึ่งอยู่ในความควบคุมของปากีสถาน) แคว้นแคชเมียร์ ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ แพนอินเดีย(Pan India News)เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ประธานาธิบดีของปากีสถาน นายเพอร์เวซ มูชาราฟ ได้กล่าวว่า “ในการช่วยเหลือจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้ อินเดียสามารถส่งสิ่งของอะไรก็ได้ ปริมาณเท่าไรก็ได้ ในรูปแบบใดก็ได้ เราต้องการสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ เราได้เปิดศูนย์รับการช่วยเหลือ 5 แห่งที่เขตควบคุม (ที่เรียกว่า 'เขตควบคุม' ซึ่งเป็นพรมแดนในแคว้นแคชเมียร์ที่อยู่ในความควบคุมของปากีสถานและอินเดีย) เราอยากให้ทุกคนจากแคชเมียร์ให้มายังที่นี่เพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์”

สนธิสัญญาแห่งการพัฒนาซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวอีกแห่งหนึ่งคือ ประเทศอิสราเอลได้เสนอการส่งทีมงานบรรเทาทุกข์ และส่งสิ่งของช่วยเหลือไปให้ในพื้นที่แผ่นดินไหวของแคชเมียร์ที่มีชาวมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ ความเคลื่อนไหวนี้แสดงถึงการเจรจาที่ก้าวหน้าไปในทางบวก ระหว่างประเทศของชาวยิวและโลกของชาวอิสลาม ในการตอบรับในความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนี้ รัฐบาลปากีสถานได้กล่าวว่า มนุษยธรรมควรมุ่งหน้าไปในทางที่ให้การสนับสนุนการไกล่เกลี่ยกัน แทนที่จะเป็นไปในทางที่นำไปสู่การเผชิญหน้ากัน

ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกของผู้เคร่งศาสนาและชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากมาย ยังคงมีผลกระทบต่อผู้คนทั้งหลายทั่วโลก แต่เวลานี้เนื่องจากเราย่างเข้าสู่ยุคทอง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้กำลังเข้ามาแทนที่ และแนวโน้มใหม่นี้ดูเหมือนว่ากำลังหลอมรวมทุกหมู่กลุ่มในทุกที่ แม้กระทั่งรัฐบาลก็กำลังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่เดือดร้อนได้อย่างเป็นธรรมชาติ และผ่านระบบราชการน้อยลงกว่าเมื่อทศวรรษก่อน ๆ

ยิ่งไปกว่านั้น จากการศึกษาประวัติศาสตร์ เราทราบว่าลัทธิการแบ่งแยกศาสนาได้ทำความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่จิตใจของมนุษยชาติ และบางครั้งทำให้ประเทศชาติเข้าสู่ความขัดแย้งระหว่างกัน แต่ด้วยความเมตตาความรักของพระเจ้า ได้ทำให้ศาสนา วัฒนธรรม และรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มหันมาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาอารยะธรรมและการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลก และยังสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้แก่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต จากตัวอย่างความเป็นกลางแบบรู้แจ้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มใหม่ และทำให้ประเทศของเขาเป็นจุดเด่นใหม่ของโลก ประธานาธิบดีมูชาราฟกล่าวว่า “เวลาแห่งการก้าวไปข้างหน้าของแคชเมียร์ได้มาถึงแล้ว : ข้าพเจ้าพร้อมสำหรับการปฏิเสธการใช้กำลังทหาร”

อ้างอิง:
http://archive.wn.com/2005/10/31/1400/panindianews/
http://www.gulf-news.com/Articles/WorldNF.asp?ArticleID=189544
http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4327008.stm
http://www.cfr.org/publication/9006/indiapakistan.html#1