นายพราฟดิฟสเตฟได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถนี้กับศูนย์กลางของสมองที่รู้จักในนามตาที่สาม โดยกล่าวว่า “ประเพณีโบราณของตะวันออกสามารถพิสูจน์ข้อสมมุติของเราได้: พวกเขาบอกว่า การเปล่งรังสีมาจากศูนย์กลางที่มีพลังงานของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เรียกศูนย์กลางนี้ว่าตาที่สาม” นอกจากนี้ ในสาขาสัตว์วิทยาก็ได้มีการค้นพบตาที่สามในสัตว์บางจำพวก สัตว์เลื้อยคลานและนกมากมายได้ถูกแสดงให้เห็นว่ามีตาที่สาม ซึ่งตรงกันกับต่อมไพเนีล แต่ไม่ได้เห็นในลักษณะเดียวกับตาเนื้อ แต่ใช้รับรู้ถึงแสงและความร้อน ยิ่งไปกว่านั้นต่อมไพเนีลของมนุษย์ได้ถูกค้นพบว่า มีตัวรับแสงและผลิตเมลาโทนินซึ่งเป็นสสารที่ถูกปล่อยออกมาตามปริมาณของแสงที่ร่างกายได้รับ(โปรดดูธรรมสารฉบับที่ 133 เรื่อง "ต่อมไพเนียลและเมลาโทนิน") แต่โดยทั่วไปแล้วนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อหน้าที่ของต่อมไพเนียลในสรีระศาสตร์ของมนุษย์ แม้ว่ามันจะคล้ายคลึงกับตาที่สามของสัตว์บางชนิด แต่มนุษย์ก็ไม่ได้ใช้ต่อมนี้เพื่อรับรู้ถึงแสงโดยตรง และการค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ว่า ตาเนื้อสามารถผลิตเมลาโทนินได้เหมือนกัน ดูเหมือนจะทำให้บทบาทของต่อมไพเนียลของมนุษย์มีความสำคัญน้อยลงไปอีก ท้ายที่สุด ตาที่สามของมนุษย์ถูกฝังลึกอยู่ภายในสมอง ซึ่งไม่เหมือนกับตาที่สามในสัตว์ และความแตกต่างในตำแหน่งที่ตั้งนี้สามารถทำให้ต่อมไพเนียลของมนุษย์ดูสำคัญน้อยลงไปอีก เนื่องจากในแง่วิวัฒนาการดูเหมือนว่าต่อมนี้จะค่อย ๆ จางหายไปมากกว่าจะเป็นตัวทำหน้าที่ของการมีชีวิตรอดที่สำคัญประจำวัน จากการค้นพบจากการค้นคว้าอย่างเช่นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ของ ไวทาลี พราฟดิฟสเตฟ อาจจะกระตุ้นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ให้มีมุมมองใหม่ ๆ ในหัวข้อเรื่องนี้ก็ได้ ความสามารถในการสร้างภาพบอกเป็นนัย ๆ ถึงระดับของการทำหน้าที่ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสมบูรณ์มากขึ้นกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้เคยตระหนักมาก่อน แต่มันยังได้ชี้ให้เห็นด้วยว่าอวัยวะนี้สามารถ “เห็น” ได้จริง ๆ ด้วยตัวของมันเอง และทำงานอยู่เหนือระดับเพียงแค่การมีชีวิตรอดทางร่างกายเท่านั้น ดังนั้นแม้อาจจะเป็นจริงที่ว่า สำหรับคนจำนวนมากแล้ว ตาที่สามไม่ได้มีการใช้งาน แต่เหตุผลอาจจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้เคยเชื่อมานมนาน ต่อมไพเนียลอาจจะเพียงต้องการการปลุกให้ตื่นขึ้นแบบที่ท่านอาจารย์อ้างว่าเป็น “การเชื่อมโยงติดต่อใหม่กับพระเจ้า” เท่านั้นก็ได้ เพื่อทำบทบาทที่แท้จริงของมัน นักประพันธ์อีกท่านหนึ่งคือนักเทวะปรัชญา จี เดอะ พูรุกเกอร์ ได้เขียนในช่วงทศวรรษ 1920 เกี่ยวกับต่อมไพเนียล และวิวัฒนาการของมนุษยชาติจากมุมมองทางด้านจิตวิญญาณที่มากขึ้น มากกว่าเป็นการมองทางด้านชีววิทยาที่ว่า:
บางทีข้ออ้างอิงของนายเดอะ พูรุกเกอร์ เกี่ยวกับ “ดวงตาที่ 1” ที่ได้ถูกตระหนักถึงอีกครั้งหนึ่งในความสำคัญอันแท้จริงของมัน อาจจะประจวบเหมาะกับการเข้าสู่ยุคทองของเราก็ได้ ถ้าหากเป็นเช่นนี้การศึกษาของพราฟดิฟสเตฟก็จะสามารถเป็นตัวแทนการรับรองในตอนต้น ๆ ของนักวิทยาศาสตร์ถึงความสำคัญอันแท้จริง และความหมายของตาปัญญา และเนื่องจากตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ตาปัญญาคือที่ ๆ เรา “ไป” เพื่อเชื่อมต่อกับพระเจ้าที่อยู่ภายในอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง พวกเราทั้งหมดควรเห็นคุณค่าอย่างลึกซึ้งมากขึ้นถึงความสำคัญของการติดต่อของเรากับพระเจ้า♥ อ้างอิง: ![]() |