รายงานตามคำสั่งและการจัดอันดับของท่านอาจารย์
นิวซีแลนด์
ประเทศแห่งสันติภาพ สุขภาพ และความรัก |
โดยเทอรรี่ พรินซ์ โบสถ์คริสต์ (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)
ข้อบังคับเรื่องอาหารดัดแปลงพันธุกรรม
ประเทศนิวซีแลนด์ได้มีการควบคุมเข้มงวดในการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ(GMOs)ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งไม่ได้มีอยู่ก่อนในนิวซีแลนด์ (รวมทั้งจีเอ็มโอ) ภายใต้กฎข้อบังคับว่าด้วยวัตถุอันตรายและการกระทำต่อสิ่งมีชีวิตใหม่ ปีพ.ศ.2539 กฎหมายนี้ควบคุมถึงสิ่งมีชีวิตตัวใหม่จะต้องได้รับการทดลองพิสูจน์พื้นฐานโดยร่างกายที่เป็นอิสระในแต่ละเรื่องไป ก่อนที่จะปล่อยให้มีการใช้กันในนิวซีแลนด์
ดังนั้นในเวลานี้จึงไม่มีอาหารที่ดัดแปลงพันธุกรรมอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ และแม้ว่ามีอาหารที่ผ่านขบวนการผลิตในประเทศที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนประกอบนั้นต้องได้รับการทดสอบถึงความปลอดภัยของมัน และผลิตภัณฑ์นั้นต้องติดป้ายชัดเจน เพื่อแสดงการมีจีเอ็มโออยู่ในปริมาณที่รวมแล้วมากกว่า 1%
จากการประเมิณผลถึงบทบาทของการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในสังคมนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยเหลือในการตัดสินใจ รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้จัดตั้งสถาบันธรรมจริยศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต Toi Te Taiao ขึ้นมา องค์กรดังกล่าวเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเสนอความคิดเห็นด้านเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่มีความกระทบต่อจิตวิญญาณ วัฒนธรรม และจริยธรรม1
บทบัญญญัติว่าด้วยการควบคุมอาวธ/ลดกำลังทหาร/
การรักษาสันติภาพ/ปราศจากนิวเคลียร์/
นอกจากการเข้าถึงเรื่องสุขภาพของประชาชนด้วยความตื่นตัวอย่างสูง ประเทศนิวซีแลนด์ยังได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของสังคมโลก โดยการหลีกเลี่ยงสงครามและความรุนแรงและส่งเสริมสันติภาพ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและฟื้นฟูความเข้าใจในการประสานความขัดแย้งภายในประเทศและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ และได้ส่งเสริมสันติภาพโลกอย่างกระตือรือร้นโดยการออกกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยประเทศนิวซีแลนด์ปราศจากนิวเคลียร์ และกฎหมายการปลดอาวุธและลดกำลังทหาร และโดยการสนับสนุนและลงนามในสนธิสัญญาข้อปฏิบัติและข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งสนธิสัญญาการประกาศสิทธิมนุษยชนสากล สนธิสัญญาระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่เพิ่มจำนวนนิวเคลียร์2
นิวซีแลนด์ยังสนันสนุนสหประชาชาติในพันธกิจการรักษาสันติภาพในยูโกสลาเวีย กัมพูชา ติมอร์ตะวันออก โซมาเลีย และประเทศอื่น ๆ3 สำหรับการส่งเสริมสันติภาพในแถบมหาสมุทรแปซิฟิค ได้มีบทบาทอันสำคัญยิ่ง เช่น กลุ่มกบฏแบ่งแยกบนเกาะ Bougainvill ที่ขณะนั้นทำให้มีผู้คนเสียชีวิต 20,000 คน สุดท้ายจากการไกล่เกลี่ยของนิวซีแลนด์ ปิดฉากความขัดแย้งด้วยวิธีเจรจาทางการทูต4
ยิ่งกว่านั้นในปีพ.ศ.2546 การตอบรับในการขอความช่วยเหลือนานาชาติอย่างเป็นทางการ นิวซีแลนด์ได้เป็นผู้นำร่วมของกองกำลังผสมตำรวจและทหารไปยังหมู่เกาะโซโลมอน เพื่อช่วยฟื้นฟูสันติภาพและป้องกันความวุ่นวายที่จะตามมาของพลเมืองในดินแดนนี้5
ความพยายามทั้งหมดเหล่านี้ได้แสดงถึงการให้คำมั่นสัญญาของนิวซีแลนด์ต่อประชาชนภายในประเทศเรื่องสุขภาพ และความอยู่ดีกินดี และเพิ่มพูลความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องระหว่างประเทศ
ข้อมูลอ้างอิง
1.กระทรวงการรักษาสิ่งแวดล้อม จาก
http://www.mfe.govt.nz/publications/organisms/gm-nz-approach-jun04/html/index.html
(ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของรัฐบาล)
2.กระทรวงการต่างประเทศและการค้า จาก
http://www.mfat.govt.nz/foreign/humanrights/overview/overview.html
(ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของรัฐบาล)
บทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมอาวุธและลดกำลังทหาร, เขตปลอดนิวเคลียร์ในนิวซีแลนด์ ปี 2530 จาก
http://www.legislation.govt.nz/browse_vw.asp?content-set=pal_statutes
(ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของรัฐบาล)
3.
http://www.un.org/Depts/dpko/dpko/index.asp
4. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Bougainville&oldid=40505568
5. http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Solomon_Islands&oldid=42506221