รายงานตามคำสั่งและการจัดอันดับของท่านอาจารย์
โลกกำลังตื่น
ขึ้นสู่วิถีดำรงชีวิตอันสูงส่ง
โดยกลุ่มข่าวฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)
กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ได้ถูกบัญญัติขึ้นใหม่ในยุโรป
ในวันที่ 23 มกราคม 2549 สมาชิกสภายุโรปได้ก่อตั้งกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นอยู่ขอสัตว์ ซึ่งสะท้อนถึงการยกระดับของจิตวิญญาณแห่งสิทธิสัตว์ในยุโรป ด้วยกฎหมายฉบับนี้ การเลี้ยงสัตว์อย่างทารุณ เช่น การใช้กรงแคบ ๆ จะถูกกำจัดให้หมดไปภายใน 5 ถึง 10 ปี กฎหมายฉบับนี้ยังได้บัญญัติถึงขนาด พื้นที่ และแสงสว่างที่สัตว์ควรจะได้รับ
ความรู้สึกอันสูงส่งในยุโรป
เมื่อต้นปี 2548 ได้มีการออกป้ายใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ผ่านการใช้ความรุนแรง ซึ่งเริ่มมาจากการทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวยุโรปจำนวน 70,000 คน การสำรวจได้ผลสรุปว่า ชาวยุโรปส่วนใหญ่ต้องการให้มีป้ายประกอบผลิตภัณฑ์สัตว์ และเกือบ 60% เต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้การติดป้ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้นดีขึ้น นายมาคอส คิปเรียนู กรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ให้ความคิดเห็นว่า "ผู้บริโภคชาวยุโรปนั้นให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างชัดเจน และต้องการจับจ่ายสินค้าอย่างมีสติ" รายงานการสำรวจสรุปว่า "มีการยกระดับทัศนคติเกี่ยวกับสัตว์และความคิดเกี่ยวกับสัตว์ในสังคมอย่างชัดเจนในไม่กี่ทศวรรษที่่ผ่านมา "
จากการประมวลผลแบบสอบถาม ชาวยุโรปส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมสภาพการเป็นอยู่ของสัตว์ทั่วทั้งโลก ผลที่ตามมาก็คือ ได้มีการตั้งกฎเกณฑ์สำหรับความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยงเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดทำเสนอโดยโอไออี องค์การเพื่อสุขภาพสัตว์ และในไม่ช้าจะถูกนำไปใช้ในประเทศสมาชิก 167 ประเทศทั่วโลกในเดือนพฤษภาคม 25481
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 รัฐสภาประเทศอังกฤษได้ออกกฎหมายเพื่อความเป็นอยู่ของสัตว์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ของประเทศอังกฤษ โดยเจ้าของสัตว์ต้องรับผิดชอบต่อการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 35,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และจำคุก 1 ปี2
การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในจีน
ในเดือนตุลาคม 2547 กรุงปักกิ่งได้เสนอข้อบังคับให้สัตว์เลี้ยงในฟาร์มต้องถูกฆ่าด้วยความเจ็บปวดที่น้อยที่สุด ในเรื่องนี้ ดร.พีเตอร์ ลี แห่งมหาวิทยาลัยฮุสตันได้กล่าวไว้ว่า "เรื่องของการปฏิบัติต่อสัตว์เช่นนี้ไม่เคยถูกนำมาเป็นเรื่องถกเถียงมาก่อน ตั้งแต่ปลายปีทศวรรษที่ 90 นักวิชาการชาวจีนได้ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ และกรณีการทารุณกรรมสัตว์เมื่อไม่นานมานี้ได้ช่วยให้เรื่องนี้เป็นหัวข้อการสนทนาโดยทั่วไป" เนื่องจากประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดในโลก การปฏิวัติการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์
วัฒนธรรมอันงดงามของอินเดีย
ประเทศอินเดียมีวัฒนธรรมอันงดงามในเรื่องของการเคารพสัตว์ ซึ่งยังคงถูกรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน เป็นต้นว่าในกฎหมายของอินเดียกล่าวไว้ว่า คนอินเดียมีหน้าที่ที่จะป้องกันการทารุณกรรมสัตว์3 และในวันที่ 11 มีนาคม 2547 ศาลฎีกาของอินเดียได้ออกกฎอันเข้มงวดในเมืองริชิเกชโดยไม่ให้มีการขายไข่ไก่ คนขายเนี้อได้ต่อต้านกฎนี้โดยกล่าวว่า มันเป็นการสวนกระแสความเป็นสมัยใหม่ ศาลได้ตอบว่า "มันเป็นความรู้ง่าย ๆ ที่ว่า สมาชิกชุมชนหลาย ๆ แห่งในอินเดียเป็นผู้เคร่งมังสวิรัติ และละการทานเนี้อสัตว์ ปลา และไข่"
อินเดียซึ่งในปัจจุบันนำโดยพรรคชาตินิยมโดยมีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมังสวิรัติ ดังนั้นในวันที่ 21 มกราคม 2549 ในการประชุมพรรคชาตินิยม ได้มีการเลี้ยงอาหารมังสวิรัติสำหรับผู้สมัครจำนวน 3,000 คน
ในอดีต การถกเถียงเกี่ยวกับการฆ่าวัวและสุกรได้นำไปสู่การเสียชีวิตของชาวฮินดูและมุสลิมมากมาย อย่างไรก็ตาม ในปี 2547 กฎระเบียบใหม่ซึ่งออกโดยสภามุสลิมที่นิวเดลีได้นำสันติสุขเพิ่มมากขึ้น ระเบียบนี้บังคับให้ชาวอินเดียมุสลิมไม่ฆ่าวัวในช่วงวันหยุดของชาวฮินดู4
การเคลื่อนไหวครั้งใหม่ในเนเธอร์แลนด์
พรรคการเมืองพรรคหนึ่งซึ่งอุทิศตนทั้งหมดให้กับสัตว์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นที่เนเธอร์แลนด์ "พรรคเพื่อสัตว์" ได้ครองหัวใจของประชากรชาวดัชนับล้าน และเกือบชนะที่นั่งในสภายุโรปในปี 25475
เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ในสเปน
เมืองบาเซโลน่าได้สร้างประวัติศาตร์ขึ้นในปี 2547 ด้วยการประกาศต่อต้านกีฬาชนวัวอันโหดร้าย กีฬานี้ได้ถูกห้ามทั่วทั้งเมืองดาตาโลเนียในปี 2548
กฎหมายอย่างฉลาดจากโรม
ในเดือนตุลาคมของปี 2548 กรุงโรมประเทศอิตาลีได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่สมบูรณ์ที่สุดที่เคยประกาศในประเทศใด ๆ ก็ตาม เมืองนี้ให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องพาสุนัขเดินอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน (มิฉะนั้นอาจถูกปรับ 625 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ) และมีกฎห้ามการปฏิบัติไร้เมตตาธรรมมากมาย และยังห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างในบริเวณ 800 แห่งที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมวป่า ที่พักของสัตว์จรจัดทั้งหมดในกรุงโรมไม่มีการฆ่า ที่ปรึกษาของเมืองผู้เป็นเบื้องหลังของกฎหมายในกรุงโรมกล่าวว่า "มันจะเป็นการดีที่เราจะทำอะไรก็ได้เพื่อสัตว์ของเราผู้เติมความรักแก่เรา ความเป็นอารยะของเมืองใดสามารถวัดโดยสิ่งนี้"
การตื่นขึ้นในอเมริกา
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะถูกจัดให้เป็นประเทศอันดับ 2 ในการบริโภคเนื้อวัว การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งกำลังจะเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างชาวอเมริกันและสัตว์ เป็นต้นว่าในเดือนพฤศจิกายนของปี 2545 ประชาชนชาวฟลอริด้าได้ริเริ่มการนำบัญญัติหนึ่งเข้าสู่รัฐธรรมนูญของรัฐเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของสุกรตั้งครรภ์ การกระทำอย่างมีจิตสำนึกอันน่าทึ่งนี้ได้นำไปสู่กฎหมายเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสุกรอีกมากมายด้วยการออกเสียงอย่างเป็นทางการ ในปี 2549 เสียงส่วนใหญ่ได้ระบุให้มีการจัดการดูแลความเป็นอยู่ของสุกรและลูกวัวที่อริโซน่า และมีการห้ามการแข่งสุนัขในรัฐแมสซาชูเซทท์ และมีการทำแบบเดียวกันในอีก 8 รัฐอื่น ๆ
ในเดือนมกราคม 2549 เมืองบลูมมิงตัน รัฐอินเดียนน่าได้เปลี่ยนการใช้คำว่า "เจ้าของ" เป็น "ผู้ปกป้อง" ในกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ บลูมมิงตันเป็นเมืองลำดับที่ 14 ในสหรัฐที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนี้ พร้อมกับทุก ๆ เมืองในรัฐโรด ไอร์แลนด์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้สิทธิพื้นฐานแก่สัตว์ในบางส่วน ซึ่งแต่ก่อนมีมนุษย์เท่านั้นที่มีสิทธินี้ "กองทุนสัตว์เลี้ยง" ได้เกิดขั้นจากการพัฒนาทางกฎหมายใหม่ในอเมริกา ซึ่งเหมือนกับกองทุนสำหรับเด็ก ๆ เงินเหล่านี้มีไว้สำหรับสัตว์ เมื่อเจ้าของของพวกเขาเสียชีวิต นายเจอร์รี่ เบเยอร์ อาจารย์ภาควิชานิติศาสตร์ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ได้กล่าวว่า "ความคิด (เกี่ยวกับกองทุนสัตว์เลี้ยงนี้) ได้เปลี่ยนจากความคิดที่ดูเหมือนน่าหัวเราะกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้การยอมรับในช่วงข้ามคืน"
ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงในทางวิทยาศาสตร์
สิทธิของสัตว์ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นหัวเรื่องสำคัญในการโต้แย้งทั่วทั้งยุโรป กฎหมายใหม่เกี่ยวกับสัตว์ของสหภาพยุโรปได้ระบุให้ประเทศต่าง ๆ ใช้ทางเลือกใหม่แทนการทดสอบกับสัตว์ โดยใช้หลัก 3R (แทนที่, ลด, และการพิจารณาความจำเป็นให้ถ่องแท้ในการใช้สัตว์ในการทดลอง) รัฐบาลสหรัฐได้ให้ทุนสำหรับการพัฒนาทางเลือกใหม่ ในปี 2548 รัฐนิวเจอร์ซี่ได้เลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ห้ามการทดลองในสัตว์ ถ้าวิถีทางเลือกนั้นมีจริง โมเดลคอมพิวเตอร์ และวีดีโอสามารถแทนที่การผ่าสัตว์ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ และในปี 2548 โรงเรียนโตรอนโตได้ประกาศนโยบายให้นักเรียนสามารถเลือกว่าจะผ่าสัตว์หรือไม่ ซึ่งนักเรียนทุก ๆ คนต้องได้รับการแจ้งว่า พวกเขามีสิทธิที่จะไม่ผ่าสัตว์ และให้ทางเลือกวิถีการเรียนใหม่ ๆ ให้แก่พวกเขา
วิทยาลัยรักษ์สิ่งแวดล้อม
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาหารมังสวิรัติได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ในโรงเรียนและวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากคำขอร้องของผู้ปกครองและนักเรียนให้มีการเสิร์ฟผลไม้ ผัก และเนื้อเจ ในโรงอาหาร
ที่ไมอามี่ ฟลอริด้าในปี 2554 ดร.แอนโทเนีย เดมาส ได้สอนการปรุงอาหารมังสวิรัติให้กับนักโทษยุวชนจำนวน 19 คน และเน้นย้ำให้พวกเขารักษาการทานอาหารมังสิวัติและดื่มน้ำจำนวน 8 แก้วต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เด็กชายทุก ๆ คนได้แสดงการพัฒนาในเรื่องของพฤติกรรมก้าวร้าว การศึกษา และสมรรถนะทางการกีฬา และความแข็งแรง และตัวประกอบการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้ลดลง 30% หลังจากที่เขาได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยของเขา ดร.เดมาส ได้รับเชิญให้สอนเทคนิคในโรงเรียนใน 5 รัฐอื่น ๆ6
ในปี 2546 ดร.โรเบิร์ต ลอเรนซ์ ผู้ช่วยอธิการบดีคณะการสาธารณสุขบลุมเบิร์ก มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ และเป็นผู้ได้รับรางวัลอัลเบิร์ต ชวีตเซอร์ สาขาสันติภาพ ประจำปี 2545 ได้เริ่มการรณรงค์ที่มีชื่อว่า "วันจันทร์ไร้เนื้อสัตว์" เพื่อที่จะส่งเสริมการรับประทานมังสวิรัติในโรงเรียนของท่าน ซึ่งมักถูกจัดอันดับให้เป็นโรงเรียนด้านสาธารณสุขอับดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ในเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการรายงานวิชาการมากมายเกี่ยวกับการทานมังสวิรัติว่ามีการเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่า และในปี 2540 สมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกาได้ตีพิมพ์บทความที่สนับสนุนการทานมังสวิรัติอย่างจริงจัง7
อาหารสำหรับอนาคต
นาซ่าได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอาหารมังสวิรัติในอวกาศ ในโครงการหนึ่งในปี 2543 ได้มีการวิเคราะห์สูตรอาหารมังสวิรัติจำนวน 100 สูตร โดยใช้พืชผลตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ได้มีการระบาดของโรควัวบ้า และความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ ผู้บริโภคต่างแสดงความตั้งใจที่จะให้ความสนใจกับส่วนประกอบที่ระบุว่าเป็นมังสวิรัติหรือมาจากผัก จากการวิเคราะห์อาหารในตลาดในเดือนมกราคม 2549 ได้พบว่า ส่วนประกอบ 30-50% จากสัตว์จะถูกเปลี่ยนเป็นพืชในเวลา 5 หรือ 10 ปี8
อ้างอิง
1 http://europa.eu.int/comm/food/animal/welfare/index_en.htm
2 http://europa.eu.int/comm/food/animal/welfare/index_en.htm
3 Article 51-A
4 http://www.hindu.com/2004/02/02/stories/2004020204261100.htm
5 http://www.partijvoordedieren.nl
6 http://www.foodstudies.org
7 15. Sabate J, Duk A, Lee CL. Publication trends of vegetarian nutrition articles in biomedical literature; 1966-1995. Am J Clin Nutr 1999;70(suppl):601S-607S.
8 http://www.foodnavigator-usa.com/news/ng.asp?n=65085-dsm-vegetarian-food-safety-